ยินดีต้อนรับสู่บล๊อก จ่าเอกฟาร์มเห็ด

....ขอต้อนรับสู่บล๊อก จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค เราจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดชนิดต่างๆ ขายดอกเห็ดทั้งปลีกและส่ง พร้อมทั้งรับปรึกษาการทำโรงเรือน....

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เริ่มต้นฟาร์มเห็ด โดยการเปิดดอกขาย เรื่อง...การทำการตลาดและการแปรรูป (5)

เริ่มต้นฟาร์มเห็ด โดยการเปิดดอกขาย  เรื่อง...การทำการตลาดและการแปรรูป (5)

จริงๆแล้วตอนที่ 5 ตั้งใจจะเขียนเรื่องการดูแลก้อน และการรักษาก้อนเห็ด แต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน สภาพแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เลยจะขอเขียนเรื่องการทำการตลาด เพราะหลายๆคนอยากทำแต่ติดปัญหาเรื่องที่ขาย

เมื่อเราทำการเปิดก้อนเชื้อเห็ด ซัก 7-10 วัน ถ้าปรับสภาพแวดล้อมตรงตามความต้องการของเห็ดเราก็จะเห็ดดอกเห็ดออกมาใช้เชย ชม ซึ่งเห็ดถ้ามีความสมบูรณ์ทั่วกันก็จะออกดอกมาพร้อมๆ กันซึ่งจะเก็บได้ 3-5 วัน แล้วจะการพักตัว ดังนั้นการวางแผนสำหรับคนที่พึ่งเริ่มเพาะเห็ด หากเพาะเป็นจำนวนมากก็หาที่ส่งโดยเป็นตลาดใกล้เคียง เช่นแผงผักตามหมู่บ้าน รถขายของวิ่งตามหมู่บ้าน แม่ค้าในตลาด เพื่อนบ้านข้างเคียง หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงาน (เพื่อนร่วมงานขายง่ายสุด...555)

สำหรับมือใหม่ การเก็บดอกเห็ดมีคำถามว่าต้องทำอย่างไรต้องแต่งหน้าก้อนหรือไม่....??? การเก็บเห็ดสำหรับคนเก็บครั้งแรกจะมีความน่าตื่นเต้น วิธีการง่ายๆ ท่องไว้ว่า โยกซ้าย โยกขวา โยกบน โยกล่างเท่านี้ก็จะหลุดมาแบบง่ายๆ เมื่อดึงดอกเห็ดมาแล้ว ก็ดูบริเวณหน้าก้อนเห็ดว่ามีเศษเนื้อเห็ดติดหรือไม่ หรือมีดอกเล็กๆ หรือไม่ ก็ใช้ปลายช้อนแคะออก เก็บเฉพาะขนาดที่เหมาะสม คือจะไม่บานมากนัก หลายๆคนเก็บเห็ดบานคิดว่าจะได้น้ำหนัก แต่ความเป็นจริงเห็ดจะมีสปอร์ และเมื่อแก่สปอร์จะปลิว ทำให้ดอกเห็ดขาดน้ำหนัก การขายเราทำได้แบบขายปลึกและขายส่ง แต่ถ้าทำการขายปลีกได้ก็จะได้ราคาดีขึ้น ทำให้คืนทุนได้เร็วขึ้น
...ข้อแนะนำ... การเก็บควรเก็บหลังจากรดน้ำ อย่างน้อย 30 นาที เพราะถ้าเก็บตอนเห็ดเปียกๆ จะทำให้เห็ดฉ่ำ ไม่สวย เก็บไว้ได้ไม่นาน
....ตลาดเห็ดตาย... หลายๆ ที่อาจจะเจอปัญหาเรื่องตลาดเห็ดตาย คือเห็ดออกมาก ทั้งเห็ดบ้านและเห็ดป่า ซึ่งจะเกิดในช่วงที่ฝนตก อากาศเป็นใจ ราคาก็จะลดลง แต่มีทางแก้โดยการแปรรูป เป็นผลิตภันฑ์ต่างๆ เช่น น้ำพริกเห็ด เห็ดทอด เห็ดสวรรค์ แหนมเห็ด น้ำยาขนมจีนเห็ด ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี ยิ่งใกล้เทศกาลกินเจ จะมีคนที่จะหันมาบริโภคเห็ดกันเยอะ ดังนั้นการวางแผนการตลาดจึงเป็นเรืองสำคัญอย่างหนึ่ง

เรื่องที่ขาดไม่ได้ การวางแผนการเก็บเงินเพื่อลงทุนก้อนชุดต่อไป....หลายๆคนทำแล้วเจ๊ง เพราะการขาดวางแผนการลงทุนครั้งต่อไป เพราะการซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพาะ เป็นการลงทุนเงินก้อน และได้ทะยอยเก็บเงินเป็นรายได้รายวัน ซึ่ง หากไม่มีการบริหารเรื่องการลงทุน ก็จะทำให้เมื่อก้อนเชื้อใกล้หมดอายุ จะไม่มีทุนเป็นเงินก้อนสำหรับการลงทุนรอบต่อไป ทำให้โรงเรือนที่ลงทุนก่อสร้างมาต้องพัก ทำให้คืนทุนได้น้อย ดังนั้นควร มีการเก็บเงินส่วนหนึ่ง หรือประมาณ 20-30% ของรายรับ มาเป็นค่าก้อนชุดต่อไป
การทำก้อนเชื้อเก่า ตีนเห็ดที่ตัดแล้วไปเพิ่มมูลค่าก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การนำก้อนเชื้อเก่า เพาะต้นอ่อน มาผลิตปุ๋ย หรือนำมาทำก้อนใช้เองใหม่ ส่วนตีนเห็ดมีโปรตีนสูง เหมาะที่จะนำมาเป็นอาหารสัตว์ หรือเลี้ยงปลา ก็น่าจะเป็นไปได้

ตามที่เกริ่นๆมา เรื่องวินัยในการเก็บเงินเพื่อลงทุนรอบต่อไปถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ อาชีพเดินต่อไป ทั้งนี้อยากให้เป็นการลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป .......ด้วยรักและห่วงใยจาก...จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค.....

"จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค เรามีมากกว่าคำว่าเห็ด"

เริ่มต้นฟาร์มเห็ด โดยการเปิดดอกขาย เรื่อง...การรดน้ำเห็ดนางฟ้า... (4)

เริ่มต้นฟาร์มเห็ด โดยการเปิดดอกขาย  เรื่อง...การรดน้ำเห็ดนางฟ้า... (4)

วันนี้หลังอบรมว่างๆ เลยมาเล่าเรื่องที่ติดค้างไว้ วันนี้ก็จะเป็นเรื่องการให้น้ำในโรงเรือนเห็ดนางฟ้า ซึ่งมีหลายๆคนถามมามากขอเล่าเป็นประเด็นๆ ดังนี้ครับ
การรดน้ำ เป็นการเพิ่มความชื้นในอากาศ และการลดอุหณภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดได้ ซึ่งก็ต้องทำให้เหมาะสมกับความต้องการของเห็ด ซึ่งความชื้นสัมผัสที่ต้องการก็ประมาณ 80% และอุณหภูมิที่ต้องการคือการ 25-30 องศา หากใครที่ทำเห็ดมานานๆ เดินเข้าไปในโรงเรือนก็จะสัมผัสได้ว่าเป็นอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะหรือไม่

คำถามที่มีคนถามมากคือ รดน้ำ จำนวนกี่ครั้ง...?? รดครั้งละกี่นาที...?
เป็นคำตอบที่ตอบยากพอสมควร เพราะสภาพพื้นที่ ลักษณะโรงเรือน การเก็บความชื้นของโรงเรือนไม่เท่ากัน บางโรงอากาศถ่ายเทได้ดี ก็จะมีการพัดความชื้นออกไปหมด เช่นฤดูหนาว ลมจะแรง ดอกเห็ดจะแห้งมัน เพราะลมพัดความชื้นออก ไปเร็วนั่นเอง
สำหรับการรดน้ำที่จ่าเอกใช้คือ ใช้วิธีรดน้อยๆ รดบ่อยๆ คือช่วงร้อนที่ผ่านรดน้ำโดยการรดครั้งละ 3-5 นาที วันละ 4-5 ครั้ง ระยะห่างของแต่ละหัว 1.5 เมตร ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับหัวหมอกที่แต่ละคนใช้ด้วย เพราะหัวหมอกจะมีปริมาณการจ่ายน้ำไม่เหมือนกัน หากเป็นหัวที่จ่ายน้ำน้อยก็ต้องเพิ่มเวลา โดยสังเกตุว่าบริเวณพื้นเปียกแฉะเล็กน้อย และจะทำการให้น้ำอีกครั้งเมื่อพื้นเริ่มแห้ง ถ้ามีการแห้งเร็วแสดงว่าอากาศอาจจะร้อน หรือลมพัดแรง หรือสังเกตุบริเวณดอกเห็ดเริ่มขาดความชุ่มชั้น ก็ทำการเปิดได้ สำหรับท่อที่ใช้บางคนอาจจะใช้ท่อ พีอี ,พีวีซี แต่สำหรับจ่าเอกคิดว่าท่อ พีวีซี มีความคงทนกว่าจึงใช้ท่อ และสะดวกในการถอดหัวหมอกมาทำความสะอาด เพราะไม่ได้ทากาวไว้ ถึงแม้จะมีน้ำหยดลงบ้างแต่เป็นการหยดตรงกลางจะไม่เข้าหน้าก้อน

รดแบบอัตโนมัติ กับแบบมือ แบบไหนดีกว่ากัน ....??
ถ้าจะตอบคำก็ต้องถามว่าเรามีเวลาหรือไม่ ระบบอัตโนมัติ สะดวก สบาย ตรงเวลา แต่อาจจะไม่ตรงกับสภาพแวดล้อง เราต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมตามสภาพอากาศอยู่เสมอ แต่ก็สะดวกดีเหมือนกัน ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นมา
การติดตั้งหัวหมอกจ่ายน้ำ รวมทั้งระยะห่าง จำนวนหัวหมอกที่เหมาะสมครอบคลุมพื้นที่โรงเรือน เพราะหัวหมอกจะมีรัสมีการให้น้ำ ไม่เท่ากัน สำหรับระดับความสูงหัวหมอก ควรมีความสูงพอสมควร ซึ่งเมื่อมีการจ่ายน้ำแล้วหมอกจะลงในระดับโค้งลง ไม่พ่นเข้าบริเวณหน้าก้อน หากต่ำมากอาจจะพุ่งเข้าหน้าก้อนทำให้ก้อนเสียได้ง่าย

สำหรับวิธีการรดน้ำโดยใช้สายยาง ควรฉีดน้ำเป็นฝอยๆ ผ่านบริเวณหน้าก้อน ฉีดเป็นฝอยด้านบนเหนือก้อนให้โค้งลงบริเวณพื้น บริเวณหลังก้อน ห้ามให้น้ำเข้าบริเวรหน้าก้อน หรือมีบางที่ใช้ท่อพีวีซีเจาะรูปไว้เหนือก้อน แล้วเปิดน้ำให้ไหลหยดลงมา
สำหรับการซื้อหัวหมอกก็หาซื้อได้ทั่วไปทำเว็บไซต์ สั่งสะดวกสบายมาก ข้อควรระวังคือเรื่องปั้มควรมีความแรงที่เหมาะสม อย่างน้อย 1 แรงม้า / หัวหมอก 12 หัว (หัวที่จ่าเอกใช้ ตามรูป) ซึ่งทั้งหมดต้นทุน ประมาณ 2,500 บาท ทั้งนี้อยู่ที่หัวหมอกที่จะเลือกใช้ มีแบบราคาถูกๆ ต้นทุนก็จะลดลง
ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์กนกโปรดัก
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ฝากกดไลค์เพจด้วยนะครับ

"จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค เรามีมากกว่าคำว่าเห็ด"

ค้นหาบล็อกนี้