วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โรคและแมลงศัตรูพืชของเห็ดนางฟ้าภูฐาน

โรคและแมลงศัตรูพืชของเห็ดนางฟ้าภูฐาน 

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกย่อมมีโรคแมลงศัตรูเห็ดระบาดไม่มากก็น้อย รวมทั้งเชื้อราปนเปื้อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากถุงเห็ดชำรุดมาก่อนปัญหาที่พบเสมอได้แก่ 


 เชื้อราปนเปื้อนที่พบได้แก่ ราเขียว Trichoderma sp. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบรวดเร็ว ทำให้เชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ราดำ Aspergillus niger เกิดในถุงที่มีอาหารเสริมสูง ราสีส้ม Neurospora และราเมือกสีเหลือง Physarum polycepharum พบตามถุงเห็ดที่วัสดุเพาะเน่าและภายในโรงเห็ดมีความชื้นสูง โรงเพาะเห็ดไม่มีอากาศถ่ายเทพอ ถ้ามีราปนเปื้อนมากควรงดใส่น้ำตาลและแป้ง 


 หนอนแมลงหวี่เซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ พวกนี้มีลำตัวสีขาวใสหรือสีเขียวอ่อน หัวมีสีดำยาวประมาณ 5 – 7 ซ.ม. เคลื่อนไหวเร็วและกินจุมาก ตัวอ่อนจะกัดกินเส้นใยเห็ด 


 ศัตรูอื่นๆ มีระบาดบ้างแต่ละท้องถิ่น เช่นเห็ดหมื่นปีหรือเห็ดหลินจือมีเพลี้ยไฟชนิดหนึ่งระบาด ทำให้ดอกเหี่ยวและสีคล้ำและมีด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งเจาะดอกเห็ด 



ศัตรูเห็ดนางรม - นางฟ้า 


 เห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้า มีคุณสมบัติทางกลิ่นที่ดึงดูดโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิด เช่น 


 หนูและแมลงสาบ เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเชื้อและดอกเห็ดการกำจัดควรใช้ยาเบื่อหรือกาวดัก 


 ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นเรื่องความสะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะจะเป็นอันตรายมาถึงคนกินเห็ดได้ 


 แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ 


 โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด 


 ราเมือก มีลักษณะเป็นสายสีเหลือง มีกลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยการเอาก้อนเชื้อที่หมดอายุและเศษวัสดุในเรือนเพาะออกอย่าให้เกิดการหมักหมม 



ปัญหาที่พบเสมอในการเพาะเห็ดนางรม - เห็ดนางฟ้า 


ในการเพาะเห็ดนางรม – เห็ดนางฟ้า ก็มีปัญหาเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆ ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้ 


1. เส้นใยไม่เจริญลงในถุงขี้เลื่อย หลังจากที่ได้ใส่เชื้อเห็ดลงไปสาเหตุเกิดจาก 


    หัวเชื้อเห็ดไม่มีคุณภาพหรือหมดอายุ 


    ปุ๋ยหมักมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเห็ด ตลอดจนมีความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป 


    ปุ๋ยหมักแฉะเกินไปและเกิดจุลินทรีย์อื่นๆ ขึ้นปะปน 


2. เส้นใยเดินบางมาก ในบางครั้งหลังจากบ่มเชื้อแล้วเส้นใยเจริญทั่วก้อนแต่เดินบางมาก ทำให้เกิดดอกเห็ดได้น้อย อาจเกิดจาก 


    การขาดอาหารเสริมอาหารน้อยเกินไป 


    การนึ่งฆ่าเชื้อไม่หมดยังมีเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เจริญอยู่ 


    ใช้วัสดุเพาะที่ไม่เหมาะกับเห็ดชนิดนี้ 


3. เส้นใยเดินเพียงครึ่งถุง แล้วไม่เดินต่อไปอีก 


    ปุ๋ยหมักก้นถุงชื้นหรือเปียกแฉะเกินไป 


4. ออกดอกช้าเกิดจาก 


    นำก้อนเชื้อไปเปิดดอกในขณะที่เส้นใยยังไม่รัดตัว 


    การถ่ายเทอากาศไม่ดี 


    เชื้อเห็ดอ่อนเกินไป จากการต่อเชื้อมาแล้วหลายครั้ง 


    ความชื้นไม่เพียงพอ 


5. ดอกเห็ดเล็กไม่โตและให้ผลผลิตต่ำ 


    เชื้ออ่อนแอ ต้องคัดหรือเลี้ยงเนื้อเยื่อใหม่ 


    อาหารภายในถุงไม่เพียงพอเพราะดอกเห็ดเกิดเป็นดอกเล็กๆ ขึ้นจำนวนมาก 


6. เกิดเป็นดอกช้าและไม่เจริญเติบโต มีอาการเหี่ยวเฉาตาย 


    เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายขณะเปิดถุงเนื่องจากโรงเรือนสกปรก 


    มีน้ำขังในถุงมากเกินไป 




ที่มา :- Blog ครูอนันต์ กล้ารอด

ประโยชน์การทำชั้นวางโรงเรือนเพาะเห็ด แบบแขวน โดยฟาร์มเห็ด จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค

คลิ๊ปวีดีโอแนะนำประโยชน์การทำชั้นวางโรงเรือนเพาะเห็ด แบบแขวน ซึ่งเป็นชั้นวางแบบที่มีประโยชน์หลายอย่างเช่น ประหยัดค่าใช้จ่าย ดูแลรักษาความสะอาดง่าย และดูแลรักษาก้อนให้มีอายุนาน สนใจเยี่ยมชมหรือติดต่อได้ที่ เพจ จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค ตั้งอยู่ที่ บ้านทรัพย์อุดม อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา




สนใจติดต่อดูงานได้ตลอดเวลา อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

เพจ .....จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค
ไลน์..... jaekkandte

การทำโรงเรือนเพาะเห็ดถุง (นางฟ้าภูฐาน, นางรมฮังการี, นางนวล )

ค้นหาบล็อกนี้