วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทำก้อนอาหารเห็ดถุง

 การทำก้อนอาหารเห็ด
วัสดุที่นำมาใช้ในการทำก้อนอาหารเห็ด
วัสดุที่นำมาใช้ในการทำก้อนอาหารเห็ดมีดังนี้ 
         ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน  นิยมใช้ขี้เลื่อยยางพารา เพราะย่อยสลายเร็ว มีสารอาหารที่เห็ดชอบคือ   คาร์บอน,ไนโตรเจน,ลินิน,เซลลูโลส,ส่วนมากสารอาหารเหล่านี้อยู่ในรูปที่เห็ดนำไปใช้   ได้เลย หรือถ้าไม่มีขี้เลื่อยไม้ยางพาราก็ควรจะหาขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนอย่างอื่นแทนก็ได้เช่น ขี้เลื่อยไม้มะม่วง ขี้เลื่อยไม้นุ่น ขี้เลื่อยไม้ก้ามปู ขี้เลื่อยไม้มะกอก
          ส่วน อาหารเสริมอื่นๆ ขี้เลื่อยไม่เบญจพรรณหรือไม้  เนื้อแข็งจะใช้ไม่ได้ เพราะการย่อยสลายยาก แต่ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนที่จะนำมาใช้เพาะเห็ดนั้นก็ควรจะเป็นขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่เก่า ถ้าใหม่จะใช้ไม่ดี เพราะจะมีอาหารจุลินทรีย์อื่นๆต้องการอยู่มากจะทำให้เกิดความเสียหาย เพื่อนำมาทำก้อนเชื้อเห็ดเพราะเส้นใยเห็ดบางมาก คือ
      รำละเอียด เป็นอาหารเสริมที่นิยมใช้กันมาก เพราะรำอุดมไปด้วยโปรตีน และวิตามินบีซึ่งเห็ดต้องการมาก การผสมรำจะผสมเท่าไรก็ได้ แต่เนื่องจากรำมีคุณค่าทางอาหารสูงจึงเป็นที่ต้องการของเชื้อจุลินทรีย์อื่นที่เป็นศัตรูเห็ด ดังนั้นหากเติมรำมากไป โอกาสจะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดถูกรบกวนหรือเสีย เนื่องจากเชื้อราจึงมีอยู่ไม่มาก ควรใช้อัตราส่วนที่   พอดี  6 %  จะได้ผลดีที่สุด ถ้าใช้มากกว่านี้จะเสียง่าย ใช้น้อยกว่านี้ ผลผลิตจะต่ำ

                
        ปูนขาว และยิปซัม เห็ดจะเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลาง  ไม่เป็นกรด ไม่เป็นด่างจัดเกินไป คือ ค่าความเป็นกรด ด่าง อยู่ที่ระดับ 6.5-7.2 แต่วัสดุที่นำมาใช้เป็นอาหารเห็ดนั้นส่วนมากจะไม่มีค่ากลาง จึงจำเป็นต้องผสมปูนขาวและยิปซัม     เพื่อให้วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดมีสภาพค่าเป็นกลางพอดี




         ดีเกลือ  เป็นเกล็ดสีขาว มีธาตุแมกนีเซียม ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเร่งการเกิดดอกเห็ดทำให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น แต่ไม่ควรไม่มากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นดอกเห็ดยาวหมวกดอกเล็ก





           น้ำ จะทำให้อาหารของเห็ดมีความชื้นนิยมผสมน้ำ 60-70% โดยผสมน้ำไปพร้อมๆกับการผสมอาหารเห็ด น้ำจะช่วยให้อาหารของเห็ดย่อยสลาย   
    



                                       
       กากน้ำตาล ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเร่งการเกิดดอก    

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำก้อนอาหารเห็ด
ถุงพลาสติกทนร้อน  (ถุงเพาะเห็ด)
ขนาด   7 ×11 นิ้ว  
คอพลาสติก
สำลีอย่างเลว
ยางรัดวงเล็ก
กระดาษธรรมดาขนาด
4 ×4 นิ้ว
กะละมังหรือเข่ง
ตาชั่ง
บัวรดน้ำหรือถังตักน้ำ
  สูตรอาหารเห็ด
 สูตรอาหารที่ใช้ 
            ในการเพาะเห็ดโดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราในถุงพลาสติก มีสูตรอาหารที่ใช้ได้กับเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดสกุลนางรม เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดหลินจือ ซึ่งมีดังนี้
             ขี้เลื่อยไม้ยางพารา                   100                  กิโลกรัม
             รำละเอียด                                6-8                  กิโลกรัม
             น้ำตาลทราย                             2                     กิโลกรัม
             ปูนขาว                                    1.2                   กิโลกรัม
             ยิปซั่ม                                      2                      กิโลกรัม
             ดีเกลือ                                     0.2                   กิโลกรัม        
             น้ำสะอาด                                 60-70               ลิตร
            ในสูตรนี้ อาจตัดน้ำตาลทรายและยิปซั่มออกไปจากสูตรก็ได้ นอกจากนี้ยังมีสูตรอีกหลายสูตร แตกต่างไปตามตำราและฟาร์มเห็ดแต่ละแห่ง

สูตรเห็ดนางฟ้า-นางรม 
            ขี้เลื่อยไม้ยางพารา                              300         กิโลกรัม
            รำละเอียด                                           15           กิโลกรัม
            ปูนขาว                                                3             กิโลกรัม
            ดีเกลือ                                                0.2          กิโลกรัม
            ยิปซั่ม , กากน้ำตาล                             3            กิโลกรัม
            น้ำ                                                     60%
การบรรจุและอัดถุงก้อนอาหารเห็ด
การบรรจุและอัดถุง 
         ในการบรรจุและอัดถุง อาจใช้เครื่องทุ่นแรงก็ได้ ขั้นตอนจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องทุ่นแรง แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการบรรจุและอัดถุงด้วยมือ
         1. นำถุงเพาะเห็ดมาคลี่ถุงออก ตักขี้เลื่อยลงในถุงๆละ 1 กก.
         2. กระแทกก้นถุงกับพื้นให้ก้นถุงเรียบและแน่น
         3. ใช้มือหรือขวดแบนทุบปากถุงให้ขี้เลื่อยในถุงแน่นสม่ำเสมอ โดยถุงไม่ ปริแตกหรือฉีกขาด
         4. แต่งหน้าถุงให้เป็นรูปกระทะคว่ำ
         5. สวมคอขวดลงในปากถุง ดึงปลายถุงให้คอขวดติดแน่นอยู่ที่กึ่งปลายปากถุง แล้วพับชายถุงลมและดึงให้แน่น
         6. ใช้ยางรัดชายพลาสติกให้แน่นกับคอขวดที่ปากถุง
         7.ใส่จุกสำลีให้แน่นและเต็มคอขวด
          8. สวมฝาครอบนึ่งหรือปิดทับด้วยกระดาษรัดยางด้วยยางให้แน่น ถือว่าเสร็จ
          9. ทำถุงต่อไ
ปจนเสร็จโดยให้แต่ละถุงสวยงามเรียบร้อย สม่ำเสมอ
สูตรเห็ดนางฟ้า-นางรม(สูตรขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50 กก.) 
           ขี้เลื่อยไม้ยางพารา                               50          กิโลกรัม
           รำอ่อน (รำละเอียด)                             2.5          กิโลกรัม
           ปูนขาว                                                0.5           ขีด
           ดีเกลือ                                                 3             กรัม
           ยิปซั่ม                                                  0.5          ขีด
           กากน้ำตาล                                          3              กิโลกรัม
           น้ำ                                                       60 %

การผสมอาหารเห็ด

         ในการผสมอาหารเห็ดจะทำอย่างไรก็ได้   เพื่อให้ส่วนผสมตามสูตรเข้ากันได้ดี                    ในเวลาอันรวดเร็ว ข้อเสนอแนะวิธีการดังนี้ (ยกเว้นการใช้เครื่องผสม) คือ
         1. ปรับสูตรอาหารให้เป็นตามปริมาณงานที่จะทำ เช่น ขี้เลื่อยจาก 100 กิโลกรัม. เป็น  200 กิโลกรัม และ 500 กิโลกรัม เป็นต้น จะต้องปรับสูตรวัสดุตามไปด้วยทุกรายการ
         2. ชั่งหรือตวงขี้เลื่อยให้ได้ตามสูตร เทเป็นกองยาวกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวไปจนหมดขี้เลื่อย
         3. ชั่งรำละเอียด น้ำตาลทราย ดีเกลือ และยิปซั่มหว่านทับขี้เลื่อยทีละอย่างจนหมด สำหรับดีเกลือมีปริมาณน้อย การหว่านเลยอาจไม่ทั่วถึง ควรนำไปผสมขี้เลื่อยแล้วหว่านก็จะดีกว่าไม่ผสม
          4. ร่อนปูนขาวด้วยตาข่ายมุ้ง ชั่งให้ได้ตามสูตร แล้วหว่านทับลงในกองขี้เลื่อยจนทั่วทั้งกอง
          5. ใช้พลั่วปลายตัด 2 อัน ผสมโดยหันหน้าเข้าหากองขี้เลื่อยทั้ง 2 คน อยู่ตรงกันข้ามแล้วตักพลั่วพลิกส่วนอาหารไปด้านซ้าย-ขวาไปมารอบๆ 2-3 รอบ ให้ส่วนผสมเข้ากันดี
           6. เตรียมน้ำไว้ให้พร้อมใส่บัวรด ขณะผสมไปก็รดน้ำไปพร้อมกับการผสมอีก  3 - 4 รอบ กะว่าความชื้นในกองมีความชื้นประมาณ 65-70 % โดยสม่ำเสมอจึงหยุด หากขี้เลื่อยมีความชื้อหรือถูกน้ำฝน ปริมาณน้ำที่เติมในสูตรนี้อาจน้อยกว่านี้
           7.   ทำการตรวจสอบความชื้นด้วยการสัมผัส โดยกำขี้เลื่อยขึ้นมากำให้แน่น แล้วปล่อยมือ ขี้เลื่อยจะจับตัวเป็นก้อนหลวมๆ แสดงว่าความชื้นพอเหมาะ หากไม่จับตัวเป็นก้อนแสดงว่าแห้งเกินไป หากเป็นก้อนไม่แตกกระจาย และขณะกำจะมีน้ำไหลซึมออกทางง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป ให้ปรุงแต่งให้ความชื้นเหมาะสมก็พร้อมจะบรรจุและอัดลงในถุงได้ ส่วนผสมนี้จะต้องอัดถุงให้เสร็จภายใน 3 วัน หากเกินกว่านี้ส่วนผสมจะเน่าเสียหาย

ขั้นตอนการปฏิบัติงานทำก้อนอาหารเห็ด 
           1.   เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่จะใช้ในการผสมอาหารเห็ด
           2.   เตรียมบริเวณสถานที่ที่จะผสมอาหารเห็ด
           3.   ชั่งอัตราส่วนวัสดุที่จะผสมตามสูตรที่กำหนด
           4.   นำวัสดุที่ชั่งไว้ตามอัตราส่วนผสมรวมกันคลุกเคล้าให้เข้ากัน
           5.   ขณะผสมเตรียมน้ำให้พร้อมใส่บัวรดน้ำขณะผสมไปก็รดไปพร้อมกับการผสมอีก 3 - 4 รอบ กะให้ความชื้นในกองมี 60-70 % โดยสม่ำเสมอ
            6.   การตรวจสอบความชื้นด้วยการสัมผัสโดยกำขี้เลื่อยให้แน่น แล้วปล่อยมือ  ขี้เลื่อยจะจับตัวเป็นก้อนหลวมๆ แสดงว่าความชื้นพอเหมาะ หากไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งเกินไป แต่ถ้าขณะกำมีน้ำไหลซึมออกมาทางง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป ให้นำขี้เลื่อยผสมลงไปอีกจนกว่าจะพอดี
             7.    ตักอาหารผสมของเห็ดลงในถุง ทำการอัดให้แน่นแข็ง ถุงต้องไม่แตก ขนาดพอดี  สูง 7 นิ้ว  น้ำหนัก 7-9 ขีด มีขนาดสวยงามพอดี
              8.   สวมคอพลาสติก พับปากถุงขณะที่พับต้องดึงปากถุงรอบๆให้ตึง รัดยางวงเล็ก  3 รอบ
              9.   อุดปิดปากด้วยสำลีอย่างเลวเพื่อกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาเมื่อนึ่งเสร็จ
              10. เอากระดาษปิดปากถุง รัดยางวงเล็ก 3 รอบให้แน่น
              11. ทำความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานให้สะอาดเรียบร้อย เก็บวัสดุ – อุปกรณ์             ที่นำมาใช้ปฏิบัติงานให้เรียบร้อย มีระเบียบ สวยงาม


ปัญหาที่พบในการทำเชื้อเห็ด
1.เชื้อเห็ดไม่เจริญ อาจมีสาเหตุจาก หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ มีก๊าซแอมโมเนียเหลืออยู่ ความชื้นในขี้เลื่อยสูงเกินไป อากาศในห้องบ่มเย็นเกินไป เป็นต้น
2.เชื้อเห็ดเสียเนื่องจากมีเชื้ออื่นปนเปื้อน อาจมีสาเหตุจากอุณหภูมิของหม้อนึ่งต่ำเกินไป หมักปุ๋ยไม่ได้ที่ ถุงพลาสติก รั่ว มีรู จุกสำลีเปียก หรือใช้สำลีเก่า อาจจะเป็นพาหนะนำเชื้อโรคได้ หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น
3.เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด หรือเดินเพียงบาง ๆ เนื่องจากขี้เลื่อยหมักไม่ได้ที่ ทำให้มีกลิ่นแอมโมเนียเหลืออยู่ มีสารที่เป็นพิษเจือติดอยู่ เช่น น้ำยางจากขี้เลื่อย น้ำมัน ผงซักฟอก อุณหภูมิในห้องบ่มต่ำเกินไป ปุ๋ยเปียกเกินไป หรือความชื้นในปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ
4.เส้นใยเจริญบางมาก สาเหตุจาก อาหารในปุ๋ยไม่เพียงพอมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อน ขี้เลื่อยที่ใช้มีพิษต่อเห็ด
5.เชื้อเห็ดเดินเต็ม แต่ไม่สร้างดอก อาจเนื่องจากเชื้อเห็ดเป็นหมัน
6.ออกดอกกช้า ผลผลิตต่ำ สาเหตุจาก เชื้อเห็ดเสื่อม อาหาร ความชื้น ไม่เพียงพอ

เครดิต http://www.simuang.ac.th/vichakhan/somchai/unit_4.html

ค้นหาบล็อกนี้