วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลองอ่านซักนิดนะครับ

ลองอ่านซักนิดนะครับ

"พ่อครับ ข้างบ้านเขาขโมยสอยมะม่วงเราครับ"
เด็กชายตัวน้อยวิ่งตื๋อมาหาพ่อ

พ่อหัวเราะแล้วถาม
"เราเหลืออีกหลายลูกไหม? ลูก"
"ผมเห็นอีกหลายลูกเลยครับ"
"งั้นไปสอยมะม่วงสุกมาให้พ่อสักเจ็ดลูกสิ"

เด็กชายเข้าใจว่าพ่อคงใช้ให้สอยมะม่วงเพราะกลัวเพื่อนบ้าน
จะขโมยอีก จึงรีบสอยมะม่วงมาให้พ่อ

เมื่อได้มะม่วงก็หอบมาให้พ่อ หวังว่าจะได้ทานกันอย่างเอร็ดอร่อย
แต่ปรากฎว่า ผู้เป็นพ่อนำมะม่วงทั้งหมดมาจัดใส่ตะกร้าอย่างสวยงาม
แล้วจูงมือลูกชายไปกดกริ่งหน้าประตูของเพื่อนบ้านที่ลูกชายบอกว่า
สอยมะม่วงไป

เด็กชายงง ไม่เข้าใจว่าพ่อจะทำอะไร เมื่อเพื่อนบ้านเปิดประตูรั้วออกมา
เป็นชายวัยกลางคน หน้าตามีพิรุธเหมือนทำผิดอะไรบางอย่าง
ผู้เป็นพ่อจึงยื่นมะม่วงทั้งตะกร้าให้ แล้วกล่าวว่า

"ผมเอามะม่วงมาฝากครับ เป็นเพื่อนบ้านอยู่บ้านข้างๆนี่เอง
มีอะไรก็บอกกันนะครับ จะได้ช่วยเหลือกัน"

ชายคนนั้นมีสีหน้าเสียใจอย่างเห็นได้ชัด เขาบอกให้พ่อรอสักครู่
พร้อมทั้งกลับมาด้วยตะกร้าใบเดิม แต่คราวนี้มีไข่ไก่เต็มตะกร้า

"ผมเลี้ยงไข่ไก่ไว้หลายตัว ขอให้ไข่เป็นของตอบแทนน้ำใจนะครับ"

พ่อกล่าวของบคุณ แล้วจูงมือเด็กชายกลับบ้าน เด็กชายถามพ่อด้วยความสงสัย

"ทำไมพ่อถึงเอามะม่วงไปให้เขา แทนที่จะไปทวงมะม่วงของเราคืนมา"

"ถ้าพ่อไปทวงมะม่วง เราอาจจะได้มะม่วงคืน แต่เราจะเสียเพื่อนบ้าน
และอาจถึงกับโกรธกัน แต่นี่พ่อเอามะม่วงไปให้เขาเจ็ดลูก รวมที่เขาสอยไปหนึ่งลูกเป็นแปดลูก แต่เราได้ทั้งน้ำใจเขา ซึ่งก็คือไข่ตะกร้าใหญ่ แถมยังได้เพื่อนบ้านเพิ่ม ลูกว่าแบบไหนดีกว่ากันล่ะ"

คัดลอกจากคอลัมน์ Sharing นิตยสาร Secret ฉบับ 10 ธ.ค.57
ภาพ : วิทวัส มีเดช

สตอเบอรี่ ผลไม้มีประโยชน์ กับการปลูกในระบบไฮโดรโปรนิคส์

สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชหลายปี แต่โดยทั่วไปจะปลูกปีเดียวแล้วจะมีการปลูกใหม่ในปีถัดไป ลักษณะการเจริญเติบโต จะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย สูงจากพื้นดิน 6-8 นิ้วทรงพุ่มกว้าง 8 -12 นิ้ว ระบบรากส่วนใหญ่อยู่ระดับลึกประมาณ 12 นิ้วจาก ผิวดิน ลำต้นปกติยาว 1 นิ้ว ความยาวของก้านใบขึ้นกับพันธุ์ ขอบใบหยัก ใบส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ใบย่อย ตาที่โคนของก้านใบจะพัฒนาเป็นตาดอกลำต้นสาขาไหลหรือพักตัว โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรองดอสีเขียวกลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองและเกสรตัวเมียเรียงอยู่บนฐานรอง ดอก ซึ่งฐานรองดอกนี้จะพัฒนาเป็นเนื้อของผลส่วนเมล็ดอยู่ติดกับ ผิวนอกของผล ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาวทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขี้นอยู่กับพันธุ์ ผลจะมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน

พันธุ์

* พันธุ์เพื่อการบริโภคสด ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 70 , 80 เบอร์50 และเบอร์20 , 329 เป็นต้น
* พันธุ์เพื่อการแปรรูป ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 และเซลวา , 329

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ทำได้หลายวิธีได้แก่

1. การใช้ไหล ขยายต้นไหลจากพันธุ์ที่สามารถให้ไหลได้ดี
2. การแยกต้น แยกต้นจากพันธุ์ที่ออกไหลไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกพันธุ์ป่า
3. การใช้เมล็ด ใช้ในกรณีที่มีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
4. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นขบวนการผลิตต้นไหลที่ปลอดโรค และสามารถขยายพันธุ์ให้มีปริมาณต้นไหลเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว

การปลูกและการดูแลรักษา
ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก

ระยะปลูก

สำหรับระยะที่ใช้ปลูกจะใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 30 - 40 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 - 30 เซนติเมตร

วิธีการปลูก

ปลูกโดยการปลูกในวัสดุปลูกคือ ทรายหยาบ + แกลบดิบปลูกให้พอดีกับขนาดของต้นไม่ลึกเกินไป
ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีตอนปลูกใหม่ เพราะอาจทำให้ระบบรากเสียหายและต้นตาย ได้ ควรปล่อยเฉพาะน้ำเปล่าๆ การปลูกต้นไหลนั้นระดับรอยต่อของรากและลำต้นจะต้องพอดีกับระดับของผิววัสดุปลูก ไม่ปลูกลึกหรือตื้นเกินไป
ถ้าปลูกลึก คือ ส่วนลำต้นจมอยู่ต่ำกว่าผิววัสดุปลูก หากเชื้อโรคเข้าทางยอดของลำต้นจะทำให้ยอดเน่า
ต้นเจริญเติบโตช้าและอาจถึงตายได้ ถ้าปลูกตื้น คือ ปลูกต้นไหลแล้วรากลอยขึ้นมาเหนือผิววัสดุปลูก ทำให้รากถูกอากาศและ
แห้ง ต้นเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นสาเหตุให้ต้นตายได้เช่นกัน การปลูกควรให้ขั้วไหลด้านที่เจริญมาจาก
ต้นแม่หันเข้ากลางแปลง เพื่อที่จะให้ผลสตรอเบอรี่ที่ผลิตออกมาอยู่ด้านนอกของแปลงได้รับแสงแดดเต็มที่
ทำให้รสชาติดี สะดวกในการเก็บเกี่ยวและลดปัญหาเรื่องโรคของผลได้ ปลูกหลุมละ 1 ต้น การใช้ต้นไหลที่ผ่าน การเกิดตาดอกจากพื้นที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตเร็ว และมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
เมื่อปลูกต้นไหลแล้ว ระยะตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงประมาณเดือนธันวาคม ต้นไหลบางพันธุ์จะผลิตส่วนไหลออก
มาเรื่อยๆ ให้เด็ดหรือตัดส่วนไหลออกให้หมดทุกต้น ไม่ควรเลี้ยงไหลไว้เพื่อใช้ปลูกต่อไป เพราะจะทำให้ต้น
ที่ย้ายปลูก (ต้นเดิมที่นำลงมาจากภูเขา)สร้างตาดอกรุ่นต่อมาช้าลง และทำให้ต้นโทรม ขาดความแข็งแรงได้
นอกจากนี้ยังจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตรวมทั้งแปลงอีกด้วย

การให้น้ำ + การให้ปุ๋ย

เนื่องจากเป็นการปลูกระบบไฮโดรโปรนิคส์ ทั้งน้ำและปุ๋ยจะมาพร้อมกันในระบบน้ำหยด ซึ่งควบคุมด้วยตัวตั้งเวลาให้น้ำวันละ 4 ครั้ง

การกำจัดวัชพืช

การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร
ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่า
สม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่งใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ
และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้
เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

โรค แมลง และศัตรูพืช

สตรอเบอรี่เป็นพืชหนึ่งที่มีโรค แมลง และศัตรูรบกวนมาก นับตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
การป้องกันตั้งแต่ระยะแรกจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคของสตรอเบอรี่บางโรคการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
จะสามารถทำได้ง่ายกว่าการกำจัดหลังจากที่โรคระบาดทำความเสียหายแล้ว เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

การป้องกันไม่ให้โรคและแมลงเข้าทำลายส่วนต่างๆของสตรอเบอรี่ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรค
ใช้ต้นไหลที่แข็งแรงจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรคและต้านทานโรค ซึ่งได้จากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การจัดการเขต
กรรมที่ดี มีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ก็จะสามารถลดปัญหาการเข้า
ทำลายของศัตรูสตรอเบอรี่ได้ระดับหนึ่ง ส่วนการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูสตรอเบอรี่นั้น เกษตรกรควรใช้เป็น
ทางเลือกสุดท้าย เพราะการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้องและเหมาะสม จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งของเกษตรกร
และผู้บริโภค
โรคสตรอเบอรี่ที่สำคัญ

1.โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหงิก ย่น หรือมีอาการใบด่าง ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น ต้นเตี้ย แคระแกรน
ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่นขนาดใบเล็กกว่าปกติ ต้นพืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดลง
พบว่าแมลงพวกปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะของโรค โรคนี้เมื่อเกิดแล้ว
ไม่สามารถรักษาให้หายได้ นอกจากการป้องกันโดยคัดเลือกกล้าที่ไม่เป็นโรค ซึ่งเกิดจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้จากวิธีการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูก ทำการอบดินเพื่อทำลายไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะของโรคไวรัส กำจัดแมลงพวกเพลี้ยไฟ
เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เมื่อพบว่ามีต้นที่แสดงอาการผิดปกติดังกล่าวให้ขุดออกไปเผาทำลายทันที
และการบำรุงพืชให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยต้านทานเชื้อโรคได้

การป้องกันกำจัดแมลงพาหะของเชื้อไวรัส

* ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่นเพื่อขับไล่และยับยั้งการกินอาหาร การเจริญเติบโตของแมลง ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ
* ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง วิธีการนี้สามารถดักจับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ ผีเสื้อต่างๆที่เป็นตัวแก่
ของศัตรูพืช ทำให้ลดปริมาณศัตรูพืชลงได้

สูตรผสมของกาวเหนียว

1. น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี.
2. ยางสน 100 กรัม
3. ขี้ผึ้งคาร์นาว่า 10 - 12 กรัม

วิธีทำ นำน้ำมันละหุ่งมาใส่ภาชนะตั้งไฟให้ร้อน มีไอขึ้นที่ผิวหน้า แล้วจึงทยอยใส่ผงยางสนและขี้ผึ่งคาร์นาว่าลงไป
ใช้ไม้พายคนให้เข้ากันจนละลายหมด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที อย่าใช้ไฟแรงนักเพราะจะทำให้ยางสนไหม้ หลังจากนั้น
ยกภาขนะลงวางในถังหรือกาละมังที่ใส่น้ำแข็งทุบเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อให้ได้รับความเย็นอย่างรวดเร็ว จากนั้นบรรจุใส่
ภาขนะปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้งาน

วิธีใช้ ใช้ภาชนะที่ใช้แล้ว เช่น กระป๋องน้ำมันเครื่องหรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง (สีเหลืองจะช่วยดึงดูดแมลงตัวเต็มวัย
ให้บินเข้ามาติดกับดักและตาย) หุ้มด้วยพลาสติกใส เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนกาวเมื่อกาวแห้งหรือปริมาณของแมลง
หนาแน่น ทากาวเหนียวด้วยแปรงทาสีให้รอบ แล้วใช้แผ่นเหล็กหนาครึ่งหุนขนาด 1*3 นิ้ว ปาดกาวให้กาวติดบางที่สุด
ไม่ให้ไหลเยิ้มเพื่อเป็นการประหยัดกาวที่ใช้

กาววางกับดักกาวเหนียวสีเหลือง ควรวางให้อยู่ระดับสูงเหนือยอดต้นสตรอเบอรี่ประมาณ 1 ฟุต ในฤดูหนาวซึ่งมีการ
ระบาดของแมลงน้อย อาจวางกับดัก 15 - 20 กับดัก/ไร่ แต่ในฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งจะมีการระบาดของแมลงศัตรูพืช
ควรวางกับดัก 60 -80 กับดัก/ไร่

2. โรคแอนแทรคโนส (โรคกอเน่า) เกิดจากเชื้อราคอลเล็คโตตริคัม จะแสดงอาการเริ่มจากแผลเล็กๆสีม่วงแดงบน
ไหล แล้วลุกลามไปตลอดความยาวของสายไหล แผลที่ขยายยาวมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
รอบนอกของแผลเป็นสีเหลืองอมชมพูซีด แผลที่แห้งเป็นสีน้ำตาลทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล
ต้นไหลอาจจะยังไม่ตาย แต่เมื่อย้ายต้นไหลที่มีการติดเชื้อลงมาปลูกบริเวณพื้นราบ หากสภาพอากาศเหมาะสมกับ
การเจริญเติบโตของเขื้อ(อากาศร้อนชื้น) สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉาและต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว
พบว่าเนื้อเยื่อส่วนกอด้านในมีลักษณะเน่าแห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตาย
ในที่สุด โรคนี้สามารถเกิดที่ผลสตรอเบอรี่ได้ด้วย พบอาการเป็นแผลลักษณะวงรี สีน้ำตาลเข้ม แผลบุ๋มลึกลงไปใน
ผิวผล เมื่ออากาศชื้นสามารถมองเห็นหยดสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์ขยายพันธุ์ของเชื่อราอยู่ในบริเวณแผล

การป้องกันกำจัด ในฤดูกาลผลิตผลสตรอเบอรี่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ควรวางแผนจัดการในการผลิต
ต้นไหลให้ปราศจากเชื้อโรคทั้งที่เป็นอาการแบบต่างๆของโรคแอนแทรคโนสที่ปรากฎให้เห็น ได้แก่ อาการโรคใบจุดดำ
ขอบใบไหม้ แผลบนก้านใบ และแผลบนสายไหลตลอดจนต้นไหลที่มีการติดเชื้อแบบแฝง
โดยที่ต้นไหลยังแสดงอาการปกติ แต่จะตายเมื่อมรการย้ายลงมาปลูกบริเวณพื้นที่ราบ ในสภาพอากาศเหมาะสมกับ
การเจริญของเชื้อ

3.โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรารามูลาเรีย โรคนี้จะปรากฎกับต้นแม่และต้นกล้า พบอาการระบาดรุนแรงในแปลงที่ปลูกกัน
มานาน การควบคุมโรคไม่ดีพอ แปลงที่มีวัชพืชมาก อาการเริ่มแรกจะเห็นแผลขนาดเล็กสีม่วงแก่บนใบ
ต่อมาแผลขยายขนาด รอบแผลสีม่วงแดง กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงขาวหรือเทา แผลค่อนข้างกลมคล้ายตานก
สีอาจเปลี่ยนไปบ้างแล้วแต่ความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของพืช อาการอาจปรากฎบนก้านใบ
หรือบางครั้งพบอาการที่ผลด้วย

การป้องกันกำจัด ถ้าพบอาการของโรคที่ใบให้เด็ดใบที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้บริเวณแปลงปลูก
เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของโรคต่อไป บำรุงพืชให้แข็งแรงในระยะปลูกเพื่อผลิตไหล อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรก
เพราะวัชพืชเป็นแหล่งอาศัยของโรค ควรดูแลความสะอาดของแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน

4. โรคเหี่ยว เป็นผลมาจากอาการรากเน่าโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า จะพบการตายของราก โดยเริ่มจาก
ปลายรากแล้วลุกลามต่อไปรากแขนงจะเน่าบริเวณท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีแดง อาการเน่าสามารถลามขึ้นไปจนถึง
โคนต้น ถ้าหากอาการไม่รุนแรงพืชจะแสดงอาการเพียงแคระแกรน แต่ถ้าอาการรุนแรงจะเหี่ยวทั้งต้น
ใบเป็นสีเหลืองจนถึงสีแดง และทำให้พืชตายได้ภายใน 2 - 3วัน เมื่อถอนต้นดูพบว่าก้านใบจะหลุดออกจากกอได้ง่าย
ท่อลำเลียงภายในรากถูกทำลายจนเน่าทั้งหมด

การใช้สารเคมีควบคุมโรคสตรอเบอรี่

สารฆ่าเชื้อราส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายหรือมีน้อยมากต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แต่บางชนิดอาจมีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง
(ผู้ฉีดพ่นสารเคมี) และบางชนิดอาจมีผลต่อการเกิดเซลมะเร็ง (ผู้บริโภค) ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบกันแต่ชัด ดังนั้น
การใช้สารเคมีจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว โดยเลือกชนิดที่ไม่ปรากฎคราบของสารบนผล
และดูค่าความปลอดภัยจาก LD50 (คือ ค่าของระดับความเป็นพิษที่หนูตาย 50 เปอร์เซนต์ (มก./กก.ของน้ำหนักตัว)
สารที่มีค่าLD50 ต่ำจะเป็นสารที่มีพิษร้ายแรงกว่าสารที่มีค่า LD50 สูง) ในการฉีดพ่นทุกครั้ง?

ศัตรูสตรอเบอรี่ที่สำคัญ

1. ไรสองจุด เป็นศัตรูที่สำคัญของการผลิตผลสตรอเบอรี่ ไรจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบสตรอเบอรี่โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบ
ทำให้ผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายมีลักษณะกร้าน ใต้ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ผิวใบด้านบนจะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็กๆ
กระจายอยู่ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาวเล็กๆเหล่านี้จะค่อยๆแผ่ขยายติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง
จนทำให้ทั่วทั้งใบมีลักษณะเหลืองซีด ใบร่วง เป็นผลทำให้สตรอเบอรี่ชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน
ให้ผลผลิตน้อยลง พบระบาดมากในสภาพอากาศแห้งความชื้นต่ำ

ไรสองจุด

ความสูญเสียระดับเเศรษฐกิจเนื่องจากการทำลายของไรสองจุดบนใบสตรอเบอรี่ในหน้าหนาว คือ 20 -25 ตัว/ใบ
แต่ในหน้าร้อนจะอยู่ที่ 50 ตัว/ใบ การป้องกันให้ใช้สารฆ่า"รโปรปาไจท์ ฉีดพ่นในช่วงที่ไม่มีแสงแดดจัด
และควรสลับชนิดของสารฆ่าไรเพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบครอบจักรวาล
ให้เลือกใช้สารที่จำเพาะเจาะจงและเป็นสารที่มีพิษย้อยต่อตัวห้ำตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของไรสองจุด
ที่พบในแปลงสตรอเบอรี่ ได้แก่ ไรตัวห้ำ ซึ่งมีรายงานค้นพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถควบคุมไรสองจุดได้ดี
นอกจากนั้น การให้น้ำแบบใช้สปริงเกอร์จะช่วยลดประชากรไรได้ เพราะจะเป็นการชะล้างไรให้หลุดจากใบพืช ชะล้าง
ฝุ่นละอองที่ไรชอบหลบอาศัยอยู่ และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้ชุ่มชื้น เหมาะกับการอยู่อาศัยของศัตรูธรรมชาติ
ของไร หมั่นทำความสะอาดแปลง ไม่ให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงปลูก และไม่ควรปลูกพืชผักโดยเฉพาะ เช่น กระเทียม
ขึ้นฉ่าย แซมในแถวปลูกสตรอเบอรี่ เพราะเป็นการเพิ่มพืชอาศัยให้ไรสองจุด

2. หนอนด้วงขาว เป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง ตัวสีขาว ปากมีลักษณะปากกัด สีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่
ใต้ดิน จะเริ่มกัดกินรากสตรอเบอรี่ในช่วงปลายฤดูฝน ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้ เมื่อใบคายน้ำจึงทำให้ใบเหี่ยว
รูใบปิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบ การสังเคราะห์แสงจะลดลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่อ่อนแอ
ชงักการเจริญเติบโต เมื่อพบอาการดังกล่าวให้ขุดหาหนอนแล้วทำลาย ในการเตรียมแปลงให้ย่อยดินให้ละเอียด
โดยเฉพาะพื้นที่เปิดใหม่ใกล้ป่าหรือใกล้กองปุ๋ยหมัก ใช้สารเคมีประเภทคลอร์ไพริฟอสราดบริเวณที่พบ
สารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีกำจัดแมลงประเภทสัมผัสและกินตาย มีพิษตกค้าง 20 - 25 วันในดิน

หนอนด้วงขาว

3. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด จะดูดน้ำเลี้ยงของใบ ก้านใบ ด้านท้ายลำตัวเพลี้ยอ่อนมีท่อยื่นออกมา 2 ท่อ
ใช้ปล่อยสารน้ำหวานเป็นอาหารของเชื้อรา ทำให้พืชสกปรกเกิดราดำ พืชสังเคราะแสงได้ลดลง
ทำให้ชงักการเจริญเติบโต ใบหงิกย่น เพลี้ยอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามส่วนยอดช่อดอกและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

นอกจากศัตรูดังกล่าวแล้ว บางพื้นที่ยังพบว่าทากและหนูเป็นศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายผลสตรอเบอรี่ได้

การติดดอกออกผล และ การเก็บเกี่ยว

ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงและช่วงแสงของวันสั้นเข้า คือ
ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากปลูก เมื่อดอกบานมีการผสมเกสรแล้วประมาณหนึ่งเดือน ผลจะเริ่มทยอยแก่พร้อมที่จะเก็บ
เกี่ยวได้ โดยผลสุกมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและจะวายประมาณปลายเดือนเมษายน

สตรอเบอรี่นอกจากเป็นอาหารแล้วยังใช้เป็นสมุนไพรได้ เนื่องจากผลสตรอเบอรี่อุดมด้วยวิตามินซีและธาตุเหล็ก
มีคุณประโยชน์ต่อระบบเลือดและหัวใจ ลูกสีแดงสดอุดมด้วยซูเปอร์ไฟเบอร์เพคติน ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ
โคเลสเตอรอลได้ระดับหนึ่ง นอกจากนั้นยังช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้สะดวก มีสรรพคุณเป็นยาระบายอย่าง
อ่อน ยาขับปัสสาวะและสามารถยับยั้งสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามึนได้ (สารกลุ่มนี้กระตุ้นการเกิดมะเร็งในลำไส้)
เนื่องจากมีโพลีฟินอลปริมาณสูง

ที่มา : 

บางส่วนจาก กรมส่งเสริมการเกษตร
เกษตรนิวส์ ข่าวเกษตร

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เห็ดอีกชนิดที่น่าสนใจ และกำลังฮิตในตอนนี้ “เห็ดมิลค์กี้” ดอกใหญ่ เนื้ออร่อย

“เห็ดมิลค์กี้” ดอกใหญ่ เนื้ออร่อย

“เห็ดมิลค์กี้” เป็นเห็ดอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย นอกจากนำไปประกอบอาหารได้แล้วยังสามารถนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย เห็ดมิลค์กี้มีเนื้อที่แน่นจึงทำให้เก็บไว้ได้นานกว่าเห็ดนางฟ้า แต่หากพูดถึงเรื่องรสชาติเห็ดมิลค์กี้ อร่อยไม่แพ้เห็ดออรินจิ

เห็ดมิลค์กี้เป็นเห็ดตีนแรดสายพันธุ์หนึ่งที่นำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำมาพัฒนาสายพันธุ์ให้ปลูกได้ในประเทศไทย ซึ่งเห็ดมิลค์กี้จะมีอัตราการเกิดของดอกได้ง่ายกว่าเห็ดตีนแรดในอดีต

การเตรียมทำก้อนเห็ดมิลค์กี้ ใช้วิธีการเดียวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมทั่วไป โดยสัดส่วน ของส่วนผสมที่เกษตรกรต้องเตรียมมีดังนี้
1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
2. รำละเอียด 5 กิโลกรัม
3. ดีเกลือ 0.02 กรัม
4. ปูนขาว 1 กิโลกรัม
5. ยิปซัม 2 กิโลกรัม

ขั้นตอนวิธีการทำคือ
1. เมื่อส่วนผสมทั้งหมดพร้อมแล้ว นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันและบรรจุใส่ถุงพลาสติก ซึ่งก้อนเชื้อจะมีน้ำหนักประมาณขนาด 8 ขีด – 1 กิโลกรัม จะทำให้ได้ก้อนเชื้อเห็ด 160 - 170 ก้อน

2. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วให้ใส่คอขวดพลาสติก อุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ รัดยางวงให้แน่น

3. จากนั้นนำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการนึ่งฆ่าเชื้อประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้จนก้อนเชื้อเย็น

4. นำหัวเชื้อเห็ดมิลค์กี้มาหยอดลงในก้อนเชื้อ และปิดปากถุงด้วยสำลี หรือ กระดาษทันที เมื่อเสร็จเรียบร้อยนำก้อนเห็ดไปบ่มไว้ในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 40 - 50 วัน เส้นใยจะเดินเต็มถุง

5. จากนั้นทำการ casing โดยการเปิดปากถุง ใช้ดินกลบประมาณนิ้วครึ่ง และรดน้ำให้ชื้นแต่อย่าแฉะ ซึ่งจะทำให้ได้ดอกเดี่ยวไม่ใหญ่มาก แต่หากต้องการให้ดอกมีขนาดใหญ่ให้นำก้อนเชื้อเห็ดที่เส้นใยเดินเต็มแล้ว นำมาเปลือยถุงออกและเรียงก้อนเห็ดลงในแปลงอัดให้แน่น ใช้ดินกลบด้านบนเพื่อให้ดินรักษาความชื้น ส่วนด้านบนนำฟางข้าวมาคลุมและหว่านเมล็ดผัก เช่น ผักบุ้ง ผักชี และอื่น ๆ ได้อีกด้วย เส้นใยเห็ดจะเดินเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มเดียวและจะเกิดดอกในระยะเวลาประมาณ 30 วัน ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวพืชผักที่ปลูกไว้พอดี ซึ่งทำให้เกษตรกรได้ทั้งผักไว้รับประทาน และได้ทั้งเห็ดมิลค์กี้ไว้จำหน่าย

หากเกษตรกรยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการเพาะเห็ดมาก่อน ควรเริ่มต้นด้วยการซื้อก้อนเห็ดที่มีเส้นใยเห็ดเดินเต็มก้อนแล้วมาลองปลูกก่อนเพราะเป็นจุดที่คุ้มทุนที่สุด เพราะการเริ่มต้นด้วยการทำเองจะใช้ต้นทุนสูง และอาจจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อเราชำนาญในการเลี้ยงดูดอกแล้วเราค่อย ๆ พัฒนาไปสู่ขั้นตอนต่อไป

ท่านที่สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ “ครูบุญเลิศ ไทยทัตกุล” ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เลขที่ 48/16 หมู่ที่ 1 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทร. 08-9113-6389 , 08-1897-9644


เครดิต....เกษตรก้าวหน้า
ภาพจาก อินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดถุงและการดูแลรักษา

สวัสดียามเช้าวันพุธที่17 ธ.ค. วันนี้ตื่นเช้าเลยมาตอบสมาชิกที่ได้ถามเอาไว้เมื่อวาน ซึ่งคำถามจะกว้างพอสมควรพอสรุปได้ดังนี้คับ

- มีแมลงต่างๆ มารบกวนทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็น จะแก้อย่างไร??
- เห็ดก็เหมือนกับพืชทุกชนิดมีทั้งโรคและแมลงรบกวน แต่เห็ดเป็นพืชที่มีความไวต่อสารเคมี ดังนั้นการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เรื่องแมลงรบกวนต่างๆ ก็มีวิธีกำจัดหลายวิธีที่ที่ปลอดภัย ซึ่งขอตอบกว้างๆ เพราะไม่รู้ว่าแมลงมีอะไรบ้าง ถ้าเป็นพวกแมลงหวี่ แมลงที่บินก็มีการใช้กาวดักแมลง หรือฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ หรือทำการหมักสารชีวภาพต่างๆ เช่นตะไคร้หอม ยาฉุน ต่างๆ ฉีดพ่นบริเวณรอบๆ คับ

- เรื่องอาหารเสริมที่จำหน่ายในอินเตอร์เน็ตใช้ได้ดีหรือไม่ ?? 
- เรื่องอาหารเสริมโดยส่วนตัวผมคิดว่าอาหารเสริมก็ดี แต่จะคุ้มค่ากับสิ่งที่เราต้องจ่ายไปหรือไม่อันนี้ไม่แน่ใจครับ โดยพื้นฐานของเห็ด (ฮังการี่, ภูฏาน) สิ่งที่เห็ดต้องการก็จะมีปัจจัยอยู่ไม่กี่อย่าง ขอเพียงให้เราทำโรงเรือนให้ตอบโจทย์ให้ได้คิดว่าเห็ดก็ออกดี ออกเรื่อยๆ ได้กำไรแน่นอน ซึ่งปัจจัยที่เห็ดต้องการมีดังนี้ ความชื้น อยู่ในช่วงที่เหมาะสม 70-80%(ตัวเลขดูในตำราอีกทีนะคับ) , อุณหภูมิ อยู่ในช่วงเย็น (ไม่ใช่หนาวนะคับ) , แสง พอที่จะมองตัวหนังสือเห็น , ลม หรือการถ่ายเทอากาศ ประมาณ15 กม./ชม. (อันนี้จำได้จากการอ่านงานวิจัย) และที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือ ความสะอาดในโรงเรือนคับ

- อาการเห็่ดออกแล้วแห้งเหี่ยว เกิดจากาอะไร??
- อาการเห็ดแห้งเหี่ยวก็มีได้หลายสาเหตุ เบื้องต้นเกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวข้องบนไม่เหมาะสม เช่นความชื้นน้อยไป (ย้ำนะคับ ความชื้น ไม่ใช่น้ำ) หรือขาดการระบายอากาศ มีคาบอนไดออกไซด์ สะสมเยอะเห็ดก็หายใจไม่ออก ก็จะหงิก งอ เหี่ยวแห้ง อีกสาเหตุคือมีโรคแมลงดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนเห็ด และยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกมาก คนเพาะเห็ดต้องใส่ใจดูแลให้มากอีกนิดคับ

- เห็นวีดีโอของอาจารย์ทำชั้นแบบแขวน ก็อยากทำบ้าง???(ข้อนี้ประทับใจเป็นพิเศษ)
- ในวีดีโอเป็นน้องสาวหุ้นส่วนกิจการเป็นคนนำเสนอ จ่าเอกเหมาะกับการเป็นคนถ่ายทำ และข้อมูลจริงๆแล้วมีเยอะกว่านั้น แต่ต้องการนำเสนอสั้นๆ เพราะคนไม่ชอบดูอะไรยาวๆ ขออธิบายเพิ่มเติมนะคับ
การทำชั้นแบบแขวนมีข้อดีหลายอย่างครับ ในวีดีโอก็พออธิบายบ้างแล้ว ขอสรุปใหม่อีกรอบ ปรกติแล้วโรคและแมลงเห็ดมาได้หลายทิศทาง ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ (เหมือนทหารเลย) อิอิ....การทำชั้นแขวน ที่ผมชอบที่สุดคือการดูแลรักษาความสะอาดง่าย พื้นเราทำความสะอาดได้ตลอดเวลา หลังการเก็บเห็ด ทำให้ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแมลง, ชั้นแขวน แมลงที่มาทางดิน หรือแมลงที่เดินจะมารบกวนลำบาก จะมาได้ก็ต้องไต่ตามเชื่อ ตัวไหนเกาะไม่แน่นมีหวังดั่งพสุธา หัวทิ่มพื้นแน่ๆ เท่าที่เห็นก็ไม่มีอะไรไต่มาได้นะคับ และที่สำคัญชั้นแขวนเราประยุกต์ได้ เผลอๆประหยัดกว่าทำชั้นวางแบบตัวเอ วัสดุใช้ได้หลายปี มีคนทำแล้วใช้ได้ 4-5 ปี ยังไม่ผุ 

หวังว่าข้อมูลคงจะเป็นประโยชน์สำหรับคำทำเห็ด และคุณเอ็ดดี้ ผีน่ารัก ที่สอบถามมานะคับ


วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เชื้อราไตรโคเดอมา (ราเขียว)

อ่านเจอเรื่องราเขียวเห็นมีประโยชน์เลยนำมาแปะไว้ให้เพื่อนๆได้อ่าน

เชื้อราไตรโคเดอมา (ราเขียว) เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ คือ กินเชื้อราด้วยกันเอง รวมถึงเส้นใยเห็ดด้วย โดยราเขียวชนิดนี้จะพันรอบเส้นใยราชนิดอื่นและหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อย รวมถึงทิ่มแทงเข้าไปกินภายในเส้นใยเพื่อดูดกินสารอาหารและส่วนประกอบต่างๆ อย่างอร่อย ดังนั้นในการทำฟาร์มเห็ดทุกชนิดถ้าเจอราเขียวควรรีบแยกหรือกำจัด แต่ราเขียวก็มีศัตรูตัวฉกาจ นั่นก็คือ เชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ใช้ฉีดพ่นกำจัดรานี้ได้ ในทางตรงกันข้ามเชื้อราไตรโคเดอมา มีประโยชน์อย่างมากต่อพืช โดยจะคอยกำจัดเชื้อราก่อโรคพืชทุกชนิดและยังทำหน้าที่หลั่งสารบางอย่างช่วย ให้พืชเติบโตแข็งแรง







เครดิต....เฟสเชื้อเห็ดตับเต่า

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การบริหารจัดการก้อนเห็ดที่เป็นโรคต่างๆ

สวัสดีเช้าวันพฤหัสบดีที่ 11 ธ.ค.57 วันพรุ่งนี้ก็คงต้องเดินทางไปพบนางฟ้าที่ฟาร์มจ่าเอกอีกแล้ว มีเพื่อนสอบถามเรื่องการกำจัดโรคและศัตรูเห็ด ก็เลยอยากถือโอกาสพูดคุยเรื่องการจัดการภายในฟาร์ม จ่าเอก




สำหรับคนทำเห็ด มากกว่า 200 ก้อน คงจะต้องเจอปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ เห็ดมีโรคและศัตรู การบริหารฟาร์มก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งในฟาร์มจ่าเอกก็มีปัญหาเช่นกัน แต่เราก็รักษาตามอาการ ซึ่งปัญหาที่หลายๆคนถามมาคือเจอเชื้อราตัวอื่น มารบกวน เช่น ราเขียว ราดำ ราส้ม การบริหารจัดการในฟาร์มจ่าเอก เน้นการลดการแพร่ละบาด โดยการใช้สารชีวภาพในการกำจัด และหาทางเอาทุนคืนจากก้อนที่มีปัญหา 


วิธีการที่ทำคือ สำหรับก้อนที่เจอเชื้อราตัวอื่นระบาดแบบหนักๆ จ่าเอกจะแยกออกไปเพื่อดูแลรักษา จะไปสู่โรงเรือนเล็กๆ สำหรับทำเป็นโรงพยาบาลเห็ด และทำการเปิดดอกด้านก้นถุง หรือ บริเวณที่มีเยื่อพร้อมที่จะออกดอกซึ่งอย่างน้อยเราจะมีทุนคืน หรือบางก้อนก็ได้กำไรเพิ่มขึ้น ก้อนไหนที่รักษาดี หายจากโรคก็จะนำกลับเข้ามาโรงเรือน โดยแยกส่วนออกในการดูแลเป็นพิเศษ สำหรับก้อนไหนที่ไม่ไหวจริงๆ ทำลายโดยการแปรรูปเป็นอย่างอื่น เช่นปุ๋ย หรือฝังกลบบริเวณต้นไม้ต่อไป



** ภาพสภาพก้อนที่เจอโรคระบาด และการรักษาเพื่อหาทุนคืนจากก้อน

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เริ่มต้นเพาะเห็ดอย่างไรให้พอเพียงและยั่งยืน

เริ่มต้นเพาะเห็ดอย่างไรให้พอเพียงและยั่งยืน

วันนี้จ่าเอกว่าง จะขอเขียนเรื่องที่เคยสัญญาไว้เกี่ยวกับเรื่องเห็ด เห็ด หลายๆคนเล็งอาชีพเพาะเห็ดเพื่อที่จะใช้เป็นอาชีพเสริม บางคนเล็งเป้าใหญ่เลย ว่าจะทำเป็นอาชีพหลัก บางคนตั้งแต่ว่าจะทำแค่เปิดดอก บางคนตั้งใจจะทำก้อนเชื้อ บางคนเล็งถึงขั้นตอนผลิตเชื้อ ต่อเชื้อเอง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนไหน สำหรับผมและอยากให้เริ่มต้นอย่างพอเพียง เพราะภาพการเพาะเห็ดเป็นอาชีพภาพสวยหรูมาก มีแต่ได้ ได้ ได้ เอาเป็นว่าทำอย่างไรถึงจะพอเพียง และยั่งยืน

ก่อนอื่นอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าการเพาะเห็ดก็เหมือนอาชีพทั่วๆไป คือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง และการลงทุนก็คือความเสี่ยง เสี่ยงที่จะขาดทุน เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ของเห็ด และที่เสี่ยงที่สุดคือ เสี่ยงจากความไม่รู้ และมั่นใจตัวเองมากเกินดไป จากประสบการณ์การเริ่มสิ่งที่ผมได้ยินมากที่สุดจากคนรอบข้างคือ เขาทำกันเยอะหลายคน และก็เจ๊งกันไปหมดแล้ว (โดยเฉพาะบ้านรั่วติดกันชั้นวางยังอยู่เป็นอนุสรณ์อยู่เลย) ทำให้จ่าเอกต้องหยุดชนักเหมือนกัน แต่ก็คิดว่า....แล้วคนอื่นหลายคนเขายังทำสำเร็จ และทำกันเป็นสิบๆ ปี ทำไมเขาถึงทำได้ จึงเป็นที่มาของการเดินทางดูฟาร์มแต่ละที่พูดคุยถึงปัญหาอุปสรรคของแต่ละฟาร์ม เมื่อมั่นใจว่าเราน่าจะทำสำเร็จจึงเริ่มลงมือ หาความรู้ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ยิ่งศึกษายิ่งทำให้รู้ว่า ใครที่ทำเห็ดแล้วล้มเหลวคือ ขาดจากความไม่รู้ ไม่อดทน ขาดการวางแผนการตลาด และลงทุนหนักเกินไป จึงเป็นที่มาของหัวข้อที่ผมเขียน ว่า...เริ่มต้นเพาะเห็ดอย่างไรให้พอเพียงและยั่งยืน....

พอเพียง.....คำนี้หลายๆคนคงเคยได้ยิน แต่ผมว่าความหมายแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะคนมีความอยาก มีความพอ ไม่เท่ากัน มาดูคำว่าพอเพียงที่นำมาใช้เกี่ยวกับการเพาะเห็ด ......เห็ดมีกระบวนการหลายกระบวนการในการทำ และคนส่วใหญ่จะเริ่มต้นที่เปิดดอก ซึ่งคิดว่าเป็นส่วนใหญ่ และทำง่ายที่สุดสำหรับคนเริ่มต้น ดังนั้นผมจะพูดคร่าวๆ เกี่ยวกับการพอเพียงเกี่ยวกับการเปิดดอกเห็ด



สำหรับคนที่จะเริ่มเปิดดอกเห็ด สิ่งแรกเลยที่ควรจะมี คือความเข้าใจเห็ดที่เราจะทำว่าเขาต้องการสภาพอากาศอย่างไร เมื่อเข้าใจแล้วเราจึงจะทำโรงเรือน .....
- โรงเรือนถือว่าเป็นการลงทุนถาวร เป็นการลงทุนครั้งเดียว (แต่ถ้าใช้วัสดุที่อายุการใช้งานสั้นก็อาจจะต้องทำบ่อยขึ้น) การลงทุนด้านโรงเรือน สำหรับคำทำเห็ดคือ ดูวัสดุใกล้มือ วัสดุที่มีแล้ว วัสดุท้องถิ่น เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหรือหลังคา หรืออุปกรณ์ล้อมรอบโรงเรือน (คือลดต้นทุนให้มากที่สุด)
- การทำชั้นวาง การทำชั้นวางสำหรับการเพาะเห็ดมีหลายๆ วัสดุแตกต่างกัน แต่หัวใจของเราคือลดต้นทุน หาวิธีวางให้ได้ประสิทธิภาพ มากที่สุด ชั้นวางไม่ได้มีไว้เพื่อวางเพียงอย่างเดียว ต้องมีส่วนในการป้องกันโรค แมลงต่างๆ ได้ด้วย
- ระบบการให้น้ำ การให้น้ำถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเพราะเห็ด ควรให้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระบบมือ หรือระบบอัตโนมัติ
- การดูแลรักษาโรคและแมลง เห็ดเป็นเชื้อรามีความไวต่อสารเคมี การกำจัดโรคและแมลง ควรเป็นแบบชีวภาพ ซึ่งการทำก็สามารถทำได้เอง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ต้องมีความรู้บ้าง ซึ่งความรู้ก็หาไม่ยาก ในอินเตอร์เน็ต ในยูทูป มีให้ศึกษามากมาย
- การวางแผนการเปิดดอก การกำหนดผลผลิต ควรที่มีการวางแผน เพราะเห็ดจะมีระยะเวลาพักตัว ซึ่งแต่ละช่วงก็จะมีเวลาพอสมควร หากไม่มีการวางแผนการลงก้อน จะทำให้ผลผลิตกระจุกตัว ช่วงที่ไม่มีผลผลิตจะเป็นตัวบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน
- การตลาด เรื่องนี้หลายๆคนจะพูดเป็นประเด็นแรกว่าจะขายให้ใคร ขายที่ไหน .....ช่วงเริ่มต้น จ่าเอกก็เถียงกับพ่อเรื่องนี้ (ปรกติเถียงกันทุกเรื่อง แต่ไม่เคยมีเรื่องกันซักที...555) การจะทำอะไรทุกคนจะถามว่าจะไปขายที่ไหน แต่จ่าเอกคิดมุมกลับ ถามตัวเอง เราจะทำอะไร ทำอย่างไรถึงจะเอาของดี ของมีคุณภาพไปขายให้คนอื่นได้ ซึ่งหากเราคิดว่าจะไปขายให้ใคร ใครจะซื้อ เราจะไม่มีทางได้คำตอบ เพราะคนที่เขาจะซื้อเขายังไม่เห็นเราทำอะไร คุณภาพแต่ไหน เขาก็คงตอบไม่ได้

ที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนคร่าวๆ แต่หัวใจของการเพาะเห็ด และจะอยู่ได้ ข้อสำคัญคือ ลงทุนให้น้อยที่สุด รีบเอาทุนคืน และหากจะขยายควรทำแบบค่อยๆ เป็นค่อยไป เน้นความพอเพียง ความคุ้มค่าของวัสดุที่ใช้ในการลงทุน

หวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์ เป็นข้อคิดให้คนที่กำลังเริ่มต้น และเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนที่กำลังก้าวสู่อาชีพเพาะเห็ดถุงนะครับ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มากินเห็ดเพื่อสุขภาพกันเถอะ.....ตอน...ผักต้านมะเร็ง....

วันนี้มีสาระดีๆมาฝาก

โรคมะเร็ง ถือว่าเป็นโรคที่อันตราย ติดอันดับคนไทยที่เป็นมากที่สุดโรคหนึ่ง และเป็นโรคที่รักษายาก มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งการป้องกันก็มีหลายวิธี และเป็นวิธีง่ายๆ เพียงแค่เลือกอาหารที่เราจะทานในแต่ละวัน

วันนี้จ่าเอก ขอเสนออาหารที่เหมาะที่จะเป็นเมนูประจำครัวเรือน คืออาหารเมนูเห็ด เพราะเห็ด เป็นอาหารที่เป็นผักที่มีโปรตีนเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ และเป็นอาหารที่ปลอดสารพิษ เนื่องจากการเพาะเห็ด หากใช้สารพิษจะทำให้เห็ดให้ผลผลิตน้อย หรือไม่ออกผลผลิตเลยทีเดียว ดังนั้นการเพาะเห็ดจึงเน้นแบบชีวภาพ

รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมทานเห็ดกันนะครับ....ด้วยรักและห่วงใยจาก....จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค...



วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เชื้อบีทีชีวภาพ (Bio BT)



รายละเีอียด:
เป็นจุลินทรีย์ที่ทำลายหนอนหนังเหนียว , หนอนใบ, หนอนคืบ, หนอนกระทู้ กำจัดหนอนวัยอ่อน
 ใช้วิธีการเพาะขยายเชื้อ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ฉีดพ่นในแปลงผััก สวนไม้ผล ไม่มีสารพิษตกต้าง 
ปลอดภัยทั้งผู้ใช้ และผู้บริโภค

ขนาดบรรจุ 500 กรัม/กระป๋อง
การขยาย (ยาเชื้อบีที) ฆ่าหนอนผัก
          1. ปัญหาผักและสารพิษตกค้าง ผักที่ปลูกในไทยมีปัญหาสารพิษตกค้าง เกิดจากการดูดสารพิษ

ในดิน และการฉีดพ่นสารพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาฆ่าแมลง เพราะแมลงทำลายผัก แมลงที่ทำให้ยามาก
และใช้บ่อยคือหนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนคืบ การพ่นยาฆ่าแมลงเป็นเหตุ
ให้มีอันตรายต่อผู้ฉีดพ่นยา, คนกินผัก ,สิ่งแวดล้อมและการส่งผักขายต่างประเทศ
          2. การลดแมลงศัตรูผักโดยวิธีต่าง ๆ ใช้แสงไฟล่อแมลงออกจากแปลงปลูก , ล่อด้วยกระดาษ

เหลืองกาวเหนียว , เพาะขยายตัวห้ำ ตัวเบียนกินแมลง , ปรับกรด-ด่างของดินให้ได้พีเอช 5.8-6.3 
เพิ่มซิลิกอนที่ละลายได้ให้แก่ดินและใช้เชื้อโรคของหนอนเช่น ไส้เดือนฝอย ไวรัส และบักเตรี บาซิลัส
ธูรินเจนสิส หรือเรียกยอๆ ว่า บีที
          3. การใช้บีทีสำเร็จรูป มีผู้ผลิตเชื้อ บาซิลัส ธูรินเจนสิส สายพันธุ์ต่าง ๆเพื่อใช้ฆ่าหนอนตามชนิด
และสายพันธุ์ที่ระบุไว้ในฉลาก , มีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ , มีหลายบริษัททั้งผลิตในประเทศและนำเข้า
มาจากต่างประเทศ ราคาจำหน่ายให้เกษตรกรส่วนมากอยู่ในราคาระดับแพง ตั้งแต่ราคากิโลกรัมละ 
500 – 1000 บาท อัตราผสมน้ำมีตั้งแต่ 50-80 กรัมหรือซีซี /น้ำ 20 ลิตร ทำให้ 1 ไร่เสียเงิน 300-400บาท
 และมักให้ใช้ทุก 3-5 วัน นับว่าสิ้นเปลืองมาก การขยายเชื้อจะช่วยให้ประหยัดได้
          4.ขยายเชื้อบีทีด้วยมะพร้าวอ่อน ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อลงไปได้ 

ใส่เชื้อบีที 1 ช้อนชา ( 1ซอง ) ปิดฝาทิ้งไว้ 1-2 วัน นำมาผสมน้ำได้ 20 ลิตร
          5.ขยายเชื้อบีทีด้วยน้ำมะพร้าวแก่จากตลาด นำน้ำมะพร้าวแก่จากตลาดมาต้มให้เดือด 5 นาที 

ช้อนฟองทิ้ง ตั้งให้เย็น ใส่เชื้อบีที 5 ช้อนชา ( 5 ซอง ) ต่อน้ำมะพร้าว 15 ลิตร (ถ้าน้ำมะพร้าวไม่พอ
เติมน้ำเปล่าจนได้รวม 15 ลิตรก่อนต้ม ) ให้อากาศแบบที่ใช้ในตู้ปลา 24 ชั่วโมง,นำไปผสมกับน้ำ
ได้รวม 100 ลิตร สำหรับฉีดพ่น
          6. ขยายเชื้อบีทีด้วยนมข้นหวานและน้ำตาลทราย ใช้น้ำ 15 ลิตร เติมนมข้นหวาน 1 กระป๋อง

 น้ำตาลทราย 3 ช้อน เชื้อบีที 5 ช้อนชาหรือ 5 ซอง ให้อากาศแบบตู้ปลา 24 ชั่วโมง สามารถใช้ผสมน้ำ
ได้ 100 ลิตรหรือ 5 ปี๊ป
          7. ขยายเชื้อบีทีด้วยไข่ไก่สด ใช้น้ำ 15 ลิตร ไข่ไก่ 5 ฟอง เชื้อบีที 5 ช้อนชาหรือ 5 ซอง 

สเม็คไทต์ 5 ขีด (500 กรัม) น้ำมันพืช 1.5-2 ช้อนชา เป่าอากาศแบบตู้ปลา 24 ชั่วโมง 
ใช้ผสมน้ำ 5 ปี๊ป ( 100 ลิตร )
          8. ขยายเชื้อบีทีด้วยแป้ง อยู่ระหว่างการทดลอง
          9. ฉีดพ่นตอนเย็น เพื่อป้องกันเชื้อถูกทำลายด้วยยูวีในแสงแดด
          10. ฉีดพ่นเปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ เพื่อให้หนอนสามารถกินเชื้อบีทีที่ขยายออกมาได้มากเท่า

ที่จะมากได้
          11. การเปลี่ยนแปลงในหนอน วันแรกไม่พบหนอนตาย แต่เริ่มเชื่องช้าลง วันที่ 2 หนอนเล็กๆ
เริ่มตายมาก วันที่ 3-4 หนอนตายเกือบหมด ยกเว้นหนอนตัวโต ๆ แบบหนอนหนังเหนียวตัวใหญ่ 
แต่หยุดการกินอาหารไม่ทำลายพืชอีก ตามรายงานหนอนจะไม่กลับมารบกวนอีกนับ 20 วันขึ้นไป
         หนอนจะกินเชื้อบีทีเข้าไป จึงจะออกฤทธิ์ทำลายแมลง โดยทั่ว ๆ ไปจะทำลายเฉพาะตัวอ่อนของ

แมลงเท่านั้น เช่น ตัวหนอนหรือลูกน้ำยุงลาย จะไม่ทำลายศัตรูที่เป็นไข่และตัวเต็มวัย ยกเว้นเชื้อบีที
บางสายพันธุ์ที่ทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็งบางชนิด เมื่อหนอนกินเชื้อบีทีเข้าไป
ในกระเพาะ น้ำย่อยในกระเพาะมีฤทธิ์เป็นด่างค่อนข้างสูงจะย่อยสลายสารพิษซึ่งอยู่ในรูป protoxin 
ให้เป็น active toxin (สารพิษแท้จริง) ซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการ
ย่อยและระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย แมลงไม่สามารถกินอาหารได้ เคลื่อนไหวช้าลง ระดับความ
เป็นกรด-ด่างภายในลำตัวเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เป็นอัมพาต ขากรรไกรค้าง สปอร์ของบีทีสามารถ
ไหลผ่านจากรูแผลบนผนังกระเพาะเข้าสู่ระบบเลือด จะขยายทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้โลหิตเป็นพิษ
 แมลงจะตายในระยะเวลา 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหนอนและปริมาณเชื้อที่กินเข้าไป

ข้อมูล ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันหยุดที่ฟาร์มจ่าเอก

ขอขอบคุณพี่คนบ้านเสิงสาง....ที่ให้ความสนใจเยี่ยมชมฟาร์ม จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค มาติดต่อขอซื้อก้อนไว้ล่วงหน้า และคุณยายที่สนใจชั้นวางก้อนแบบแขวน โดยมาทดลองเรียงก้อน แกบอกว่า....ทำไมมันง่ายจัง....5555

อีกไม่นานจะดำเนินการทำก้อน ซึ่งขณะนี้กำลังปรับพื้นที่และวางแผนผังให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้มากที่สุด โดยจะให้พื้นที่เดียวใช้ทำได้ทุกขั้นตอน รอติดตามตอนต่อไปนะคับ ว่าสูตรจ่าเอกไฮเทค เห็ดจะออกดีขนาดไหน
 











วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โรคและแมลงศัตรูพืชของเห็ดนางฟ้าภูฐาน

โรคและแมลงศัตรูพืชของเห็ดนางฟ้าภูฐาน 

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกย่อมมีโรคแมลงศัตรูเห็ดระบาดไม่มากก็น้อย รวมทั้งเชื้อราปนเปื้อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากถุงเห็ดชำรุดมาก่อนปัญหาที่พบเสมอได้แก่ 


 เชื้อราปนเปื้อนที่พบได้แก่ ราเขียว Trichoderma sp. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบรวดเร็ว ทำให้เชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ราดำ Aspergillus niger เกิดในถุงที่มีอาหารเสริมสูง ราสีส้ม Neurospora และราเมือกสีเหลือง Physarum polycepharum พบตามถุงเห็ดที่วัสดุเพาะเน่าและภายในโรงเห็ดมีความชื้นสูง โรงเพาะเห็ดไม่มีอากาศถ่ายเทพอ ถ้ามีราปนเปื้อนมากควรงดใส่น้ำตาลและแป้ง 


 หนอนแมลงหวี่เซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ พวกนี้มีลำตัวสีขาวใสหรือสีเขียวอ่อน หัวมีสีดำยาวประมาณ 5 – 7 ซ.ม. เคลื่อนไหวเร็วและกินจุมาก ตัวอ่อนจะกัดกินเส้นใยเห็ด 


 ศัตรูอื่นๆ มีระบาดบ้างแต่ละท้องถิ่น เช่นเห็ดหมื่นปีหรือเห็ดหลินจือมีเพลี้ยไฟชนิดหนึ่งระบาด ทำให้ดอกเหี่ยวและสีคล้ำและมีด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งเจาะดอกเห็ด 



ศัตรูเห็ดนางรม - นางฟ้า 


 เห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้า มีคุณสมบัติทางกลิ่นที่ดึงดูดโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิด เช่น 


 หนูและแมลงสาบ เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเชื้อและดอกเห็ดการกำจัดควรใช้ยาเบื่อหรือกาวดัก 


 ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นเรื่องความสะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะจะเป็นอันตรายมาถึงคนกินเห็ดได้ 


 แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ 


 โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด 


 ราเมือก มีลักษณะเป็นสายสีเหลือง มีกลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยการเอาก้อนเชื้อที่หมดอายุและเศษวัสดุในเรือนเพาะออกอย่าให้เกิดการหมักหมม 



ปัญหาที่พบเสมอในการเพาะเห็ดนางรม - เห็ดนางฟ้า 


ในการเพาะเห็ดนางรม – เห็ดนางฟ้า ก็มีปัญหาเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆ ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้ 


1. เส้นใยไม่เจริญลงในถุงขี้เลื่อย หลังจากที่ได้ใส่เชื้อเห็ดลงไปสาเหตุเกิดจาก 


    หัวเชื้อเห็ดไม่มีคุณภาพหรือหมดอายุ 


    ปุ๋ยหมักมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเห็ด ตลอดจนมีความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป 


    ปุ๋ยหมักแฉะเกินไปและเกิดจุลินทรีย์อื่นๆ ขึ้นปะปน 


2. เส้นใยเดินบางมาก ในบางครั้งหลังจากบ่มเชื้อแล้วเส้นใยเจริญทั่วก้อนแต่เดินบางมาก ทำให้เกิดดอกเห็ดได้น้อย อาจเกิดจาก 


    การขาดอาหารเสริมอาหารน้อยเกินไป 


    การนึ่งฆ่าเชื้อไม่หมดยังมีเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เจริญอยู่ 


    ใช้วัสดุเพาะที่ไม่เหมาะกับเห็ดชนิดนี้ 


3. เส้นใยเดินเพียงครึ่งถุง แล้วไม่เดินต่อไปอีก 


    ปุ๋ยหมักก้นถุงชื้นหรือเปียกแฉะเกินไป 


4. ออกดอกช้าเกิดจาก 


    นำก้อนเชื้อไปเปิดดอกในขณะที่เส้นใยยังไม่รัดตัว 


    การถ่ายเทอากาศไม่ดี 


    เชื้อเห็ดอ่อนเกินไป จากการต่อเชื้อมาแล้วหลายครั้ง 


    ความชื้นไม่เพียงพอ 


5. ดอกเห็ดเล็กไม่โตและให้ผลผลิตต่ำ 


    เชื้ออ่อนแอ ต้องคัดหรือเลี้ยงเนื้อเยื่อใหม่ 


    อาหารภายในถุงไม่เพียงพอเพราะดอกเห็ดเกิดเป็นดอกเล็กๆ ขึ้นจำนวนมาก 


6. เกิดเป็นดอกช้าและไม่เจริญเติบโต มีอาการเหี่ยวเฉาตาย 


    เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายขณะเปิดถุงเนื่องจากโรงเรือนสกปรก 


    มีน้ำขังในถุงมากเกินไป 




ที่มา :- Blog ครูอนันต์ กล้ารอด

ค้นหาบล็อกนี้