วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เห็ดอีกชนิดที่น่าสนใจ และกำลังฮิตในตอนนี้ “เห็ดมิลค์กี้” ดอกใหญ่ เนื้ออร่อย

“เห็ดมิลค์กี้” ดอกใหญ่ เนื้ออร่อย

“เห็ดมิลค์กี้” เป็นเห็ดอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย นอกจากนำไปประกอบอาหารได้แล้วยังสามารถนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย เห็ดมิลค์กี้มีเนื้อที่แน่นจึงทำให้เก็บไว้ได้นานกว่าเห็ดนางฟ้า แต่หากพูดถึงเรื่องรสชาติเห็ดมิลค์กี้ อร่อยไม่แพ้เห็ดออรินจิ

เห็ดมิลค์กี้เป็นเห็ดตีนแรดสายพันธุ์หนึ่งที่นำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำมาพัฒนาสายพันธุ์ให้ปลูกได้ในประเทศไทย ซึ่งเห็ดมิลค์กี้จะมีอัตราการเกิดของดอกได้ง่ายกว่าเห็ดตีนแรดในอดีต

การเตรียมทำก้อนเห็ดมิลค์กี้ ใช้วิธีการเดียวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมทั่วไป โดยสัดส่วน ของส่วนผสมที่เกษตรกรต้องเตรียมมีดังนี้
1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
2. รำละเอียด 5 กิโลกรัม
3. ดีเกลือ 0.02 กรัม
4. ปูนขาว 1 กิโลกรัม
5. ยิปซัม 2 กิโลกรัม

ขั้นตอนวิธีการทำคือ
1. เมื่อส่วนผสมทั้งหมดพร้อมแล้ว นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันและบรรจุใส่ถุงพลาสติก ซึ่งก้อนเชื้อจะมีน้ำหนักประมาณขนาด 8 ขีด – 1 กิโลกรัม จะทำให้ได้ก้อนเชื้อเห็ด 160 - 170 ก้อน

2. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วให้ใส่คอขวดพลาสติก อุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ รัดยางวงให้แน่น

3. จากนั้นนำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการนึ่งฆ่าเชื้อประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้จนก้อนเชื้อเย็น

4. นำหัวเชื้อเห็ดมิลค์กี้มาหยอดลงในก้อนเชื้อ และปิดปากถุงด้วยสำลี หรือ กระดาษทันที เมื่อเสร็จเรียบร้อยนำก้อนเห็ดไปบ่มไว้ในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 40 - 50 วัน เส้นใยจะเดินเต็มถุง

5. จากนั้นทำการ casing โดยการเปิดปากถุง ใช้ดินกลบประมาณนิ้วครึ่ง และรดน้ำให้ชื้นแต่อย่าแฉะ ซึ่งจะทำให้ได้ดอกเดี่ยวไม่ใหญ่มาก แต่หากต้องการให้ดอกมีขนาดใหญ่ให้นำก้อนเชื้อเห็ดที่เส้นใยเดินเต็มแล้ว นำมาเปลือยถุงออกและเรียงก้อนเห็ดลงในแปลงอัดให้แน่น ใช้ดินกลบด้านบนเพื่อให้ดินรักษาความชื้น ส่วนด้านบนนำฟางข้าวมาคลุมและหว่านเมล็ดผัก เช่น ผักบุ้ง ผักชี และอื่น ๆ ได้อีกด้วย เส้นใยเห็ดจะเดินเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มเดียวและจะเกิดดอกในระยะเวลาประมาณ 30 วัน ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวพืชผักที่ปลูกไว้พอดี ซึ่งทำให้เกษตรกรได้ทั้งผักไว้รับประทาน และได้ทั้งเห็ดมิลค์กี้ไว้จำหน่าย

หากเกษตรกรยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการเพาะเห็ดมาก่อน ควรเริ่มต้นด้วยการซื้อก้อนเห็ดที่มีเส้นใยเห็ดเดินเต็มก้อนแล้วมาลองปลูกก่อนเพราะเป็นจุดที่คุ้มทุนที่สุด เพราะการเริ่มต้นด้วยการทำเองจะใช้ต้นทุนสูง และอาจจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อเราชำนาญในการเลี้ยงดูดอกแล้วเราค่อย ๆ พัฒนาไปสู่ขั้นตอนต่อไป

ท่านที่สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ “ครูบุญเลิศ ไทยทัตกุล” ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เลขที่ 48/16 หมู่ที่ 1 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทร. 08-9113-6389 , 08-1897-9644


เครดิต....เกษตรก้าวหน้า
ภาพจาก อินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดถุงและการดูแลรักษา

สวัสดียามเช้าวันพุธที่17 ธ.ค. วันนี้ตื่นเช้าเลยมาตอบสมาชิกที่ได้ถามเอาไว้เมื่อวาน ซึ่งคำถามจะกว้างพอสมควรพอสรุปได้ดังนี้คับ

- มีแมลงต่างๆ มารบกวนทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็น จะแก้อย่างไร??
- เห็ดก็เหมือนกับพืชทุกชนิดมีทั้งโรคและแมลงรบกวน แต่เห็ดเป็นพืชที่มีความไวต่อสารเคมี ดังนั้นการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เรื่องแมลงรบกวนต่างๆ ก็มีวิธีกำจัดหลายวิธีที่ที่ปลอดภัย ซึ่งขอตอบกว้างๆ เพราะไม่รู้ว่าแมลงมีอะไรบ้าง ถ้าเป็นพวกแมลงหวี่ แมลงที่บินก็มีการใช้กาวดักแมลง หรือฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ หรือทำการหมักสารชีวภาพต่างๆ เช่นตะไคร้หอม ยาฉุน ต่างๆ ฉีดพ่นบริเวณรอบๆ คับ

- เรื่องอาหารเสริมที่จำหน่ายในอินเตอร์เน็ตใช้ได้ดีหรือไม่ ?? 
- เรื่องอาหารเสริมโดยส่วนตัวผมคิดว่าอาหารเสริมก็ดี แต่จะคุ้มค่ากับสิ่งที่เราต้องจ่ายไปหรือไม่อันนี้ไม่แน่ใจครับ โดยพื้นฐานของเห็ด (ฮังการี่, ภูฏาน) สิ่งที่เห็ดต้องการก็จะมีปัจจัยอยู่ไม่กี่อย่าง ขอเพียงให้เราทำโรงเรือนให้ตอบโจทย์ให้ได้คิดว่าเห็ดก็ออกดี ออกเรื่อยๆ ได้กำไรแน่นอน ซึ่งปัจจัยที่เห็ดต้องการมีดังนี้ ความชื้น อยู่ในช่วงที่เหมาะสม 70-80%(ตัวเลขดูในตำราอีกทีนะคับ) , อุณหภูมิ อยู่ในช่วงเย็น (ไม่ใช่หนาวนะคับ) , แสง พอที่จะมองตัวหนังสือเห็น , ลม หรือการถ่ายเทอากาศ ประมาณ15 กม./ชม. (อันนี้จำได้จากการอ่านงานวิจัย) และที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือ ความสะอาดในโรงเรือนคับ

- อาการเห็่ดออกแล้วแห้งเหี่ยว เกิดจากาอะไร??
- อาการเห็ดแห้งเหี่ยวก็มีได้หลายสาเหตุ เบื้องต้นเกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวข้องบนไม่เหมาะสม เช่นความชื้นน้อยไป (ย้ำนะคับ ความชื้น ไม่ใช่น้ำ) หรือขาดการระบายอากาศ มีคาบอนไดออกไซด์ สะสมเยอะเห็ดก็หายใจไม่ออก ก็จะหงิก งอ เหี่ยวแห้ง อีกสาเหตุคือมีโรคแมลงดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนเห็ด และยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกมาก คนเพาะเห็ดต้องใส่ใจดูแลให้มากอีกนิดคับ

- เห็นวีดีโอของอาจารย์ทำชั้นแบบแขวน ก็อยากทำบ้าง???(ข้อนี้ประทับใจเป็นพิเศษ)
- ในวีดีโอเป็นน้องสาวหุ้นส่วนกิจการเป็นคนนำเสนอ จ่าเอกเหมาะกับการเป็นคนถ่ายทำ และข้อมูลจริงๆแล้วมีเยอะกว่านั้น แต่ต้องการนำเสนอสั้นๆ เพราะคนไม่ชอบดูอะไรยาวๆ ขออธิบายเพิ่มเติมนะคับ
การทำชั้นแบบแขวนมีข้อดีหลายอย่างครับ ในวีดีโอก็พออธิบายบ้างแล้ว ขอสรุปใหม่อีกรอบ ปรกติแล้วโรคและแมลงเห็ดมาได้หลายทิศทาง ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ (เหมือนทหารเลย) อิอิ....การทำชั้นแขวน ที่ผมชอบที่สุดคือการดูแลรักษาความสะอาดง่าย พื้นเราทำความสะอาดได้ตลอดเวลา หลังการเก็บเห็ด ทำให้ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแมลง, ชั้นแขวน แมลงที่มาทางดิน หรือแมลงที่เดินจะมารบกวนลำบาก จะมาได้ก็ต้องไต่ตามเชื่อ ตัวไหนเกาะไม่แน่นมีหวังดั่งพสุธา หัวทิ่มพื้นแน่ๆ เท่าที่เห็นก็ไม่มีอะไรไต่มาได้นะคับ และที่สำคัญชั้นแขวนเราประยุกต์ได้ เผลอๆประหยัดกว่าทำชั้นวางแบบตัวเอ วัสดุใช้ได้หลายปี มีคนทำแล้วใช้ได้ 4-5 ปี ยังไม่ผุ 

หวังว่าข้อมูลคงจะเป็นประโยชน์สำหรับคำทำเห็ด และคุณเอ็ดดี้ ผีน่ารัก ที่สอบถามมานะคับ


ค้นหาบล็อกนี้