วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เริ่มต้นฟาร์มเห็ด โดยการเปิดดอกขาย เรื่อง...การรดน้ำเห็ดนางฟ้า... (4)

เริ่มต้นฟาร์มเห็ด โดยการเปิดดอกขาย  เรื่อง...การรดน้ำเห็ดนางฟ้า... (4)

วันนี้หลังอบรมว่างๆ เลยมาเล่าเรื่องที่ติดค้างไว้ วันนี้ก็จะเป็นเรื่องการให้น้ำในโรงเรือนเห็ดนางฟ้า ซึ่งมีหลายๆคนถามมามากขอเล่าเป็นประเด็นๆ ดังนี้ครับ
การรดน้ำ เป็นการเพิ่มความชื้นในอากาศ และการลดอุหณภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดได้ ซึ่งก็ต้องทำให้เหมาะสมกับความต้องการของเห็ด ซึ่งความชื้นสัมผัสที่ต้องการก็ประมาณ 80% และอุณหภูมิที่ต้องการคือการ 25-30 องศา หากใครที่ทำเห็ดมานานๆ เดินเข้าไปในโรงเรือนก็จะสัมผัสได้ว่าเป็นอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะหรือไม่

คำถามที่มีคนถามมากคือ รดน้ำ จำนวนกี่ครั้ง...?? รดครั้งละกี่นาที...?
เป็นคำตอบที่ตอบยากพอสมควร เพราะสภาพพื้นที่ ลักษณะโรงเรือน การเก็บความชื้นของโรงเรือนไม่เท่ากัน บางโรงอากาศถ่ายเทได้ดี ก็จะมีการพัดความชื้นออกไปหมด เช่นฤดูหนาว ลมจะแรง ดอกเห็ดจะแห้งมัน เพราะลมพัดความชื้นออก ไปเร็วนั่นเอง
สำหรับการรดน้ำที่จ่าเอกใช้คือ ใช้วิธีรดน้อยๆ รดบ่อยๆ คือช่วงร้อนที่ผ่านรดน้ำโดยการรดครั้งละ 3-5 นาที วันละ 4-5 ครั้ง ระยะห่างของแต่ละหัว 1.5 เมตร ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับหัวหมอกที่แต่ละคนใช้ด้วย เพราะหัวหมอกจะมีปริมาณการจ่ายน้ำไม่เหมือนกัน หากเป็นหัวที่จ่ายน้ำน้อยก็ต้องเพิ่มเวลา โดยสังเกตุว่าบริเวณพื้นเปียกแฉะเล็กน้อย และจะทำการให้น้ำอีกครั้งเมื่อพื้นเริ่มแห้ง ถ้ามีการแห้งเร็วแสดงว่าอากาศอาจจะร้อน หรือลมพัดแรง หรือสังเกตุบริเวณดอกเห็ดเริ่มขาดความชุ่มชั้น ก็ทำการเปิดได้ สำหรับท่อที่ใช้บางคนอาจจะใช้ท่อ พีอี ,พีวีซี แต่สำหรับจ่าเอกคิดว่าท่อ พีวีซี มีความคงทนกว่าจึงใช้ท่อ และสะดวกในการถอดหัวหมอกมาทำความสะอาด เพราะไม่ได้ทากาวไว้ ถึงแม้จะมีน้ำหยดลงบ้างแต่เป็นการหยดตรงกลางจะไม่เข้าหน้าก้อน

รดแบบอัตโนมัติ กับแบบมือ แบบไหนดีกว่ากัน ....??
ถ้าจะตอบคำก็ต้องถามว่าเรามีเวลาหรือไม่ ระบบอัตโนมัติ สะดวก สบาย ตรงเวลา แต่อาจจะไม่ตรงกับสภาพแวดล้อง เราต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมตามสภาพอากาศอยู่เสมอ แต่ก็สะดวกดีเหมือนกัน ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นมา
การติดตั้งหัวหมอกจ่ายน้ำ รวมทั้งระยะห่าง จำนวนหัวหมอกที่เหมาะสมครอบคลุมพื้นที่โรงเรือน เพราะหัวหมอกจะมีรัสมีการให้น้ำ ไม่เท่ากัน สำหรับระดับความสูงหัวหมอก ควรมีความสูงพอสมควร ซึ่งเมื่อมีการจ่ายน้ำแล้วหมอกจะลงในระดับโค้งลง ไม่พ่นเข้าบริเวณหน้าก้อน หากต่ำมากอาจจะพุ่งเข้าหน้าก้อนทำให้ก้อนเสียได้ง่าย

สำหรับวิธีการรดน้ำโดยใช้สายยาง ควรฉีดน้ำเป็นฝอยๆ ผ่านบริเวณหน้าก้อน ฉีดเป็นฝอยด้านบนเหนือก้อนให้โค้งลงบริเวณพื้น บริเวณหลังก้อน ห้ามให้น้ำเข้าบริเวรหน้าก้อน หรือมีบางที่ใช้ท่อพีวีซีเจาะรูปไว้เหนือก้อน แล้วเปิดน้ำให้ไหลหยดลงมา
สำหรับการซื้อหัวหมอกก็หาซื้อได้ทั่วไปทำเว็บไซต์ สั่งสะดวกสบายมาก ข้อควรระวังคือเรื่องปั้มควรมีความแรงที่เหมาะสม อย่างน้อย 1 แรงม้า / หัวหมอก 12 หัว (หัวที่จ่าเอกใช้ ตามรูป) ซึ่งทั้งหมดต้นทุน ประมาณ 2,500 บาท ทั้งนี้อยู่ที่หัวหมอกที่จะเลือกใช้ มีแบบราคาถูกๆ ต้นทุนก็จะลดลง
ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์กนกโปรดัก
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ฝากกดไลค์เพจด้วยนะครับ

"จ่าเอกฟาร์มเห็ดไฮเทค เรามีมากกว่าคำว่าเห็ด"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้